เกร็ดหนัง “สยามสแควร์” Part 2: สยามฯ ในมุมมองที่คุณไม่เคยเห็น ผ่านเหล่าทีมงานมากฝีมือ

SiamSquare-Trivia2-3

SiamSquare-Trivia2-5

SiamSquare-Trivia2-4

  • จุดเด่นที่สำคัญที่ถือเป็นความตั้งใจของผู้กำกับ “ไพรัช คุ้มวัน” คือ ผู้ชมจะได้เห็นตัวละครวัยรุ่นที่เป็นตัวแทนของเด็กสยามฯ ถูกนำเสนอที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด เป็นภาพของเด็กนักเรียน ม.ปลายธรรมดาๆ ที่มาเรียนพิเศษตกเย็นเดินสยาม พร้อมกลุ่มเพื่อนที่มาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งใน “สยามสแควร์” ที่เป็นศูนย์กลางของวัยรุ่นแหล่งรวมแฟชั่นมากกว่าจะเป็นภาพของเด็กวัยรุ่นที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อโฆษณาหรือโทรทัศน์ที่ค่อนข้างห่างไกลจากวัยรุ่นจริงๆ
  • วิชวลทางด้านภาพ เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของภาพยนตร์ “สยามสแควร์” นอกเหนือจากแนวคิดไอเดียในคอนเซ็ปต์ของการนำเอาเรื่องราวของวัยรุ่นสยามมาผสมผสานกับเรื่องราวในเชิงระทึกขวัญที่มี “สยามสแควร์” เป็นฉากหลังในการดำเนินเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ผู้กำกับอย่าง “ไพรัช คุ้มวัน” ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาที่มีดีกรีเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์ สาขากำกับภาพยอดเยี่ยมจาก “Mary is Happy, Marry is Happy” (2556) รวมไปถึง “36” (2555) ทั้งสองผลงานกำกับของ “เต๋อ นวพล” จนเข้าตาผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นชักชวนให้ไปกำกับภาพให้กับภาพยนตร์ร่วมทุนระหว่างไทย-ญี่ปุ่นเรื่อง “Hand in the Glove” (2557) ดังนั้นภาพยนตร์เรื่อง “สยามสแควร์” จึงจะมีสไตล์ภาพในโทนสดใสของวัยรุ่นที่เต็มไปด้วยสีสันท่ามกลางสยามฯ แต่ในขณะเดียวกันก็จะได้เห็นงานทางด้านภาพของสยามฯ ในมุมที่เต็มไปด้วยความลึกลับ น่าค้นหา การเล่นกับซอกหลืบตรอกซอยของสยามฯ ที่มิติทางด้านภาพ องค์ประกอบของแสงเงาที่ชวนขนลุกและสร้างความแตกต่างกันเลยทีเดียว
  • โดยทั้งนี้สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “สยามสแควร์” ผู้กำกับ “ไพรัช คุ้มวัน” เลือกให้ “ภิไธย สมิตสุต” คนทำหนังรุ่นใหม่ (ผู้ชนะการประกวดรางวัล Super Pitch – Asian Television Awards 2013 สาขา Documentary) มารับหน้าที่ผู้กำกับภาพ และเปิดโอกาสให้ได้สร้างจินตนาการ และไอเดียในการนำเสนอมุมมองทางด้านภาพอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรยากาศของ “สยามสแควร์” ถูกถ่ายทอดลงบนจอภาพยนตร์ในแนวทางที่ตรงความต้องการมากที่สุด นอกเหนือจากการเล่าเรื่องผ่านมุมภาพแทนสายตาของตัวละคร ไปจนถึงการตามติดตัวละคร ให้เกิดความรู้สึกราวกับผู้ชมเดินไปในสยามฯ พร้อมกับตัวละครผ่านการนำเอาสเตดิแคมมาใช้ในการถ่ายทำ หรือแม้แต่การนำเอาเครน GF20 มาติดกล้องเพื่อเก็บภาพมุมกว้างให้เห็นพื้นที่ของสยามสแควร์ไกลสุดลูกหูลูกตา ทำให้งานทางด้านภาพของตัวภาพยนตร์เต็มไปด้วยความหลากหลายและพร้อมสร้างความแปลกใหม่ให้กับภาพยนตร์

 

SiamSquare-Trivia2-2

SiamSquare-Trivia2-10

SiamSquare-Trivia2-8

  • พูดได้ว่านอกเหนือจากโปรดิวเซอร์, ผู้กำกับ, ทีมเขียนบท, ผู้กำกับภาพ และทีมงานในหลายๆ ส่วนที่รวมตัวกันมาร่วมสร้างสรรค์ให้ “สยามสแควร์” เป็นอีกผลงานเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ในอีกรูปแบบของภาพยนตร์ไทยแล้ว อีกหนึ่งไอเดียที่ถูกต่อเติมจากตัวหนังสือในบทภาพยนตร์ให้เกิดเป็นวิชวลทางด้านภาพในซีนสำคัญที่เกิดขึ้นกับทุกตัวละครในภาพยนตร์และถ่ายทำในพื้นที่สำคัญของสยามสแควร์ นอกจากนักแสดงเด็กสยามทั้งหมดจะต้องเข้าฉากด้วยกันแล้ว ผู้กำกับไพรัชยังเลือกที่จะถ่ายทำและนำเสนอในรูปแบบของ One Long Take และได้ผู้กำกับภาพมือหนึ่งของเมืองไทยที่โดดเด่นที่สุดในการใช้กล้องสเตดิแคมอย่าง “สมศักดิ์ ศรีสวัสดิ์” ซึ่งมีเครดิตในการถ่ายทำฉากตึก 4 ชั้น ความยาว 4 นาทีของ “ต้มยำกุ้ง” และฉากแอคชั่น One Long take ใน “เร็วทะลุเร็ว” รวมไปถึงภาพยนตร์และภาพยนตร์โฆษณาไทยและต่างประเทศ และรายการ The Voice มาถ่ายทำในฉากสำคัญฉากนี้ของสยามสแควร์ โดยความยากในการถ่ายทำฉากนี้คือ นักแสดงทั้งหมดต้องแสดงในฉากนี้โดยต้องสัมพันธ์กันทั้งกับตัวละครและกล้องสเตดิแคมที่จะติดตามตัวละครไปตั้งแต่เริ่มต้นจนจบซีนภายใต้การถ่ายทำตอนตี 4 และกว่าจะได้ภาพออกมาตามความตั้งใจของผู้กำกับ ฉากนี้ฉากเดียวต้องถ่ายทำไปถึง 13 เทกเลยทีเดียว
  • นอกจากนี้ “สยามสแควร์” ยังเลือกใช้เลนส์ Anamorphic ในการถ่ายทำเพื่อตั้งใจมอบทัศนวิสัยที่แปลกประหลาด และสดใหม่ซึ่งค่อนข้างมีน้อยมากที่เราจะได้เห็นภาพยนตร์ไทยที่ถ่ายทำด้วยเลนส์ชนิดนี้ ความพิเศษของเลนส์ที่เน้นความกว้างขององค์ประกอบภาพ สามารถทำให้ภาพระยะใกล้ (Close-Up) เป็นภาพกว้างได้ในทีเดียวกัน มิติของการเล่าเรื่องก็มีความลึก (Dept.) ที่เยอะขึ้นผ่านการวางเฟรม แน่นอนว่ายิ่งสร้างความพิเศษให้สยามสแควร์ที่ทุกคนรู้จักปรากฏขึ้นบนจอภาพยนตร์ในมุมมองที่สวย ลึกลับ และแปลกกว่าที่เคยเป็นมาโดยเฉพาะสยามสแควร์ในยามค่ำคืน

 

SiamSquare-Trivia2-9

SiamSquare-Trivia2-7

SiamSquare-Trivia2-11

สยามสแควร์ (Siam Square)

สยามสแควร์ (Siam Square)

เด็กวัยรุ่น 10 คนจะพาคุณไปรู้จักกับ “สยามสแควร์” ในแบบที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน   เมื่อไม่กี่วันก่อน ระหว่างที่ “เมย์” กับ...

รายละเอียดภาพยนตร์