“8 เกร็ดหนัง” เบื้องหลัง “Close รักแรก วันนั้น” พร้อมเปิดรอบพิเศษหลัง 1 ทุ่ม ตั้งแต่ 16-22 กุมภาพันธ์ ฉายจริง 23 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์

“Close รักแรก วันนั้น” ภาพยนตร์ก้าวผ่านวัยว่าด้วยเรื่องราวของ “เลโอ” และ “เรมี” เด็กชายวัย 13 ปีที่ใช้วันหยุดช่วงหน้าร้อนด้วยกันจนเกิดเป็นมิตรภาพอันแน่นแฟ้น แต่แล้วเมื่อเปิดภาคเรียน มิตรภาพของพวกเขากลับแปรเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาถูกเพื่อนๆ สังเกตเห็นและวิจารณ์ไปในทางลบ ทำให้เลโอเริ่มตีตัวออกห่างและหาคำตอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขา…

 

1) ผู้กำกับ “ลูกัส ดงต์” เจอ “เอเดน ดองบรีน” ขณะนั่งอยู่บนรถไฟ เด็กชายนั่งอยู่ตรงข้ามเขาและกำลังคุยกับเพื่อน

ในขณะที่ดงต์กำลังฟังเพลงของ “แม็กซ์ ริคเตอร์” (Max Richter) อยู่ เสียงเพลงที่เขาฟังช่างเข้ากับใบหน้าของเด็กชายคนนั้น

และไม่กี่นาทีผ่านไป เขาจึงชวนให้เด็กน้อยไปออดิชันบท โดยดองบรีนล่าว่าตอนแรกเขาตกใจ (และกลัว) มาก

เพราะนึกว่าดงต์เป็นพวกโรคจิต แต่เขาก็ตอบตกลงไป หลังจากไปลองทดสอบบท ดงต์ก็มอบบท “เลโอ” ให้เขา

 

2) ในความจริงแล้ว “เอเดน ดองบรีน” อายุน้อยกว่า “กุสตาฟ เดอ เวล” ถึง 4 ปี

 

3) “ลูกัส ดงต์” เผยว่า “ผมอยากทำหนังเกี่ยวกับช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตของพวกเราทุกคน ช่วงเวลาที่ความรักยังไม่มีชื่อเรียกหรือคำนิยาม”

หนังใช้เวลาถ่ายทำนาน 6 เดือน ทั้ง “เอเดน ดองบรีน” และ “กุสตาฟ เดอ เวล” ต้องมาขลุกอยู่ในบ้านของ “ลูกัส ดงต์” ซึ่งเผยว่า

“ผมพยายามให้พวกเขาดูหนังให้หลากหลาย ผมดีใจมากที่พวกเขาชอบหนังเก่าหลายเรื่อง อย่างน้อยๆ พวกเขาก็รสนิยมใช้ได้”

โดยดงต์ยังบอกอีกว่าเขาไม่บังคับให้นักแสดงจำบท “ผมชอบความเป็นธรรมชาติ พวกเขาไม่ต้องจำบทพูดก็ได้

แค่รับรู้ว่าฉากนี้ผมต้องการอะไรก็พอ และที่สำคัญเด็กๆ ก็ชอบมาก เพราะพวกเขาสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ”

 

4) ทีแรก “ลูกัส ดงต์” จะตั้งชื่อหนังว่า “We Two Boys Together Clinging” ตามชื่อภาพวาดของ

“เดวิด ฮ็อกนีย์” (David Hockney) จิตรกรชื่อดังชาวอังกฤษ แต่เปลี่ยนมาใช้ชื่อที่สั้นและง่ายว่า “Close”

โดยเขาได้แรงบันดาลใจในการทำหนังเรื่องนี้จากการอ่านหนังสือ “Deep Secrets: Boys’ Friendships and the Crisis of Connection”

ของนักจิตวิทยา “ไนโอบี เวย์” (Niobe Way) ซึ่งเป็นหนังสือวิชาการว่าด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ในหมู่เด็กชายช่วงก่อนจะเป็นวัยรุ่น

โดยหนังสือเล่มนี้ได้สำรวจพฤติกรรมเด็กชายจำนวน 150 คน (และส่วนใหญ่ไม่ใช่เกย์)

ดงต์อธิบายว่าจุดที่ทำให้เขาสนใจก็คือ “เด็กผู้ชายอายุ 12-13 ส่วนใหญ่จะสนิทกับเพื่อนมาก

จนถึงขั้นที่พวกเขาสามารถแสดงความรักต่อกันได้อย่างไม่ปิดบัง แต่เมื่อพวกเขาโตเป็นวัยรุ่น พวกเขาจะเขินอายที่จะแสดงกิริยาเช่นนั้น”

 

5) “Close” ออกฉายครั้งแรกใน “เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 75” (2022) ซึ่งเว็บไซต์ IndieWire

ทำการสำรวจคะแนนจากนักวิจารณ์ 75 คน ปรากฏว่าหนังได้คะแนนนำเป็นอันดับ 1 จากหนังทั้งหมดที่ฉายในเทศกาลครั้งนี้

 

6) ภาพยนตร์ดราม่า Coming of Age ที่เล่าถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์ของเด็กผู้ชาย 2 คนเรื่องนี้

สามารถชนะรางวัล “Grand Prix” จาก “เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 75” (ปีล่าสุด)

 

7) หนังสัญชาติเบลเยียมเรื่องนี้ได้รับเสียงปรบมือยาวนานถึง 10 นาทีในรอบปฐมทัศน์ที่เมืองคานส์

เป็นหนังที่ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่มีใครสามารถกลั้นน้ำตาได้อยู่เลยจริงๆ”

 

8) “Close” เข้าชิง “รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม” ประจำปีนี้

(เชียร์ “Close” และลุ้นผลออสการ์กันได้ในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 13 มีนาคมนี้ ตามเวลาในไทย)

 

“Close รักแรก วันนั้น” เปิดรอบพิเศษให้อินก่อนใคร หลัง 1 ทุ่ม ตั้งแต่ 16-22 กุมภาพันธ์ ฉายจริง 23 กุมภาพันธ์นี้ มาเสียน้ำตาไปด้วยกันในโรงภาพยนตร์

 

Close รักแรก วันนั้น

Close รักแรก วันนั้น

“รักแรกของคุณเกิดขึ้นตอนอายุเท่าไร”   “Close รักแรก วันนั้น” (2022) ผลงานกำกับเรื่องใหม่ของ “ลูกัส ดงต์” ผู้กำกับชาวเบลเยียมที่เคยพาภาพยนตร์เรื่อง “Girl” (2018) เปิดตัวฉายใน “เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 71” และคว้ารางวัลใหญ่ไปหลายรางวัล...

รายละเอียดภาพยนตร์

Featured News