ห้ามพลาด!!! “Human Flow” และ “The Zookeeper’s Wife” สองภาพยนตร์คุณภาพจาก “มงคลเมเจอร์” ร่วมฉาย “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 7” ชมฟรี 7-10 ธ.ค.นี้ ณ พารากอน ซีนีเพล็กซ์

RefugeeFilmFest7-2017-04

 

“มงคลเมเจอร์” ร่วมกับ “UNHCR” ส่งภาพยนตร์สารคดีเรื่องเยี่ยม “Human Flow” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้อพยพ ตีแผ่ประเด็นผู้ลี้ภัย และปมภายในจิตใจของมนุษย์ โดยถ่ายทำในกว่า 23 ประเทศทั่วโลกที่ประสบปัญหาผลงานการสร้างสรรค์ของ “อ้าย เว่ย เว่ย” ผู้กำกับภาพยนตร์ ศิลปิน และนักรณรงค์ผู้โด่งดัง ฉายเปิด “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 7” (The 7th Refugee Film Festival) พร้อมด้วยอีกหนึ่งภาพยนตร์ดราม่าเรื่องเด่น “The Zookeeper’s Wife ฝ่าสงคราม กรงสมรภูมิ” วีรกรรมที่ควรค่าแก่การยกย่องของสตรีผู้มีหัวใจยิ่งใหญ่ในสงครามที่โลกไม่เคยรู้ ซึ่งเทศกาลนี้จะจัดฉายให้ชมฟรีระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคมนี้ ณ โรงภาพยนตร์ พารากอน ซีนีเพล็กซ์

 

สัมภาษณ์พิเศษ “คุณอวิกา เตชะรัตนประเสริฐ” รองประธานกรรมการ สายงานการตลาด “บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด” ผู้นำเข้าภาพยนตร์เรื่อง “Human Flow” และ The Zookeeper’s Wife”

และ “คุณอรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์” ผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย

 

RefugeeFilmFest7-2017-01

 

หน่วยงาน UNHCR

คุณอรุณี: “UNHCR” เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้องค์การสหประชาชาติซึ่งมีประมาณ 30 หน่วยงาน โดยแต่ละหน่วยงานจะดูแลกลุ่มคนที่ยากลำบากแตกต่างกันออกไป UNHCR” ก็จะดูแลในส่วนของผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยคือเขาถูกบังคับให้ออกจากประเทศตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากสงครามความขัดแย้ง โดนไล่ฆ่า โดนทรมานต่างๆ นานาซึ่งเขาไม่ได้อยากจะอพยพมา

 

การจัดเทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 7 (The 7th Refugee Film Festival)

คุณอรุณี: เรื่องของ “ผู้ลี้ภัย” เป็นเรื่องคนไทยมักจะบอกว่าไกลตัว แต่ถ้าถามคนที่ทำงาน “UNHCR” จะใกล้ตัวมากเพราะเราได้สัมผัสเขา เราได้เห็นความเป็นคนที่มีอยู่ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนได้ใกล้ชิดคือ “ภาพยนตร์” เราเชื่อในพลังของภาพยนตร์ เรื่องผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องที่ไม่สามารถบอกกันได้ผ่านสื่อง่ายๆ หรือการอ่านเพียงแค่ไม่กี่ประโยค แต่พอเวลาเป็นหนังเราเหมือนพาคนได้เข้าไปอยู่ในชีวิตและประสบการณ์ของผู้ลี้ภัยจริงๆ เลย โดยในปีนี้เราต้องขอบคุณทาง “สหมงคลฟิล์มฯ” ที่สนับสนุนหนังด้วยกัน 2 เรื่องคือ Human Flow” หนังไฮไลต์ของเทศกาลเลย ซึ่งตรงกับคอนเซปต์ของเทศกาลในปีนี้ เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่เราอยากจะบอกคือผู้ลี้ภัยไม่ใช่ตัวเลข ผู้ลี้ภัยมีเลือดเนื้อและจิตใจเหมือนกับเราทุกคน ซึ่ง “Human Flow” พยายามจะสื่อในมุมนี้ และอีกหนึ่งเรื่องเด่นคือ The Zookeeper’s Wife”

 

การคัดสรร “Human Flow” เข้ามาฉายในไทย

คุณอวิกา: ภาพยนตร์เรื่อง Human Flow” จะพูดถึงเรื่องผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นประเด็นที่วิกฤตและเป็นสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยอยู่ 65 ล้านคน จริงๆ อย่างพวกเราเองปัญหานี้จะเห็นในข่าวบ่อยๆ แต่อาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในหนังเรื่องนี้สะท้อนเรื่องผู้ลี้ภัยว่ามันคือเรื่องของมนุษย์กับมนุษย์ มันพูดถึงเรื่องของมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน ซึ่งจริงๆ ทุกคนควรจะทำความรู้จักและทำความเข้าใจ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาของมันได้ มันอาจจะทำให้เกิดแอคชั่นบางอย่างที่เราในฐานะมนุษย์ด้วยกันจะช่วยเหลือทำให้สถานการณ์หรือเหตุการณ์นี้คลี่คลายได้ดีขึ้น และภาพยนตร์เรื่อง “Human Flow” ก็มีความน่าสนใจที่ผู้กำกับคือ “คุณอ้าย เว่ย เว่ย” เขาเป็นศิลปินชาวจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และเป็นเหมือนกับผู้ทรงอิทธิพลกับคนรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นวิธีการที่จะสื่อสารกับคนรุ่นใหม่แล้วผ่านความคิดและมุมมองของศิลปินอย่างอ้าย เว่ย เว่ยมันจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นการเอาประเด็นที่ค่อนข้างซีเรียสและอาจจะไกลตัวทำให้ดูใกล้ตัวขึ้น และสื่อสารในเชิงของศิลปะที่ทำให้ดูง่ายขึ้น

 

ความยากลำบากของผู้กำกับ “อ้าย เว่ย เว่ย” ในการถ่ายทำ

คุณอวิกา:  ในภาพยนตร์เรื่อง “Human Flow” ในเชิงของการทำงาน “คุณอ้าย เว่ย เว่ย” เขาใช้เวลาในการทำงานกับโปรเจกต์นี้ประมาณ 2 ปี เก็บข้อมูลประมาณ 1 ปี และเดินทางเข้าไปหาและสำรวจชีวิตกลุ่มผู้ลี้ภัยใน 23 ประเทศ ทั้งหมดประมาณ 40 กว่าแคมป์ผู้ลี้ภัย และเขาได้สัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยจริงๆ ประมาณ 600 คน และถ่ายฟุตเทจความยาวประมาณ 900 ชั่วโมง คัดลงมาเป็นหนังความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ทั้งหมดจะทำให้เราได้เห็นการสำรวจชีวิตจริงๆ และเราจะได้เห็นภาพที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เขาได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงภัย สามารถเก็บภาพมาได้ และนำเสนอผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ จริงๆ เรื่องนี้จุดที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือการถ่ายภาพ เนื่องจากได้ตากล้องที่มีชื่อเสียง 12 คน หนึ่งในนั้นคือ “คริสโตเฟอร์ ดอยส์” ซึ่งเป็นช่างภาพที่คนไทยคุ้นเคย เพราะทำงานกับผู้กำกับ “หว่องกาไว” มาหลายเรื่อง เป็นหนังที่ผสมศิลปะเข้าไปในการนำเสนอ สอดแทรกประเด็นที่เชื่อว่าทุกคนดูแล้วต้องเกิดความคิดที่อยากจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง

คุณอรุณี: อย่างหนึ่งที่ “อ้าย เว่ย เว่ย” ต้องการจะสื่อในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ตอนนี้เป็น “วิกฤต” ในช่วงเวลาของเราทุกคน แต่เขาอยากจะให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเห็นวิกฤตตรงนี้ และในช่วงต่อๆ ไปพวกเขาจะเป็นคนที่ลงมือทำอะไรเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ลี้ภัย ซึ่งเราคัดเลือกภาพยนตร์เรื่องนี้ “ฉายเปิด เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 7”  ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ นอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว ทาง “สหมงคลฟิล์มฯ” ก็ให้ความกรุณากับเราอีกหนึ่งเรื่องคือ “The Zookeeper’s Wife” ซึ่งเรื่องนี้จะพาเราไปสัมผัสกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

 

RefugeeFilmFest7-2017-02

 

เรื่องราวของ “The Zookeeper’s Wife”

คุณอวิกา:  The Zookeeper’s Wife” เป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งที่เสียสละโดยการยกบ้านของตัวเองซึ่งเป็นสวนสัตว์ให้เป็นที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่สะท้อนปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยที่มันเกิดมาต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย

คุณอรุณี: เหมือนย้อนกลับไปทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองว่าสมัยเมื่อ 70 กว่าปีที่ผ่านมา โลกเป็นแบบนั้นแล้วทำไมตอนนี้ยังมีวิกฤตของผู้ลี้ภัยอยู่ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้พิเศษเลย โดยเฉพาะเรื่อง Human Flow” ที่จะเข้าฉายไทยวันที่ 21 ธันวาคมนี้ แต่เราได้มาฉายใน “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 7” นี้ก่อนเลย ซึ่งในเทศกาลนี้จะฉายหนังทั้งหมด 6 เรื่อง คือ Human Flow”, “The Zookeeper’s Wife”, “Return to Homs”, “Cast from the Strom”, “After Spring” และRefugee: The Eritrean Exodus”

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยซีเรีย สิ่งที่เป็นความประทับใจที่เราได้เห็นคือ UNHCR” เปลี่ยนทะเลทรายและวางผังเมืองให้กับผู้ลี้ภัยในช่วงเวลาที่เขาจำเป็นจะต้องมาอยู่ที่นั่น เราจะวางเลยว่า โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์ที่ให้เด็กหรือเยาวชนมาทำกิจกรรมด้วยกันจะต้องอยู่ที่ไหน เพราะเวลาที่คนๆ หนึ่งตกอยู่ในสถานะที่เป็นผู้ลี้ภัย เขาไม่ได้หมดความเป็นคน เขายังต้องใช้ชีวิต ต้องไปเรียน เจ็บป่วยก็ยังต้องไปโรงพยาบาล และเราเองจะไม่หยุดที่จะสร้างชีวิตของตัวเองขึ้นมา เขาก็อยากจะเรียนเพิ่ม อยากจะทำงาน

UNHCR” จะทำงานเป็น 3 ขั้นตอน คือ ช่วงที่ 1 Emergency คือคนกำลังออกมา ช่วงที่ 2 คือช่วงฟื้นฟูชีวิตตรงนี้ใช้เวลายาวนานประมาณ 20 ปี และช่วงที่ 3 คือการหาทางออกที่ถาวรให้เขา คือการที่เขาได้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ 3 ภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่องนี้จะทำให้เราได้เห็นแบบครบรส ต้นตอ การใช้ชีวิต และพาไปดูว่าคนที่ออกมาจากสถานะผู้ลี้ภัยแล้วจะต้องทำยังไงต่อไป

 

RefugeeFilmFest7-2017-03

 

ภาพยนตร์เรื่อง Human Flow” จะฉายเปิด “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 7” ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ที่ “โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์” เวลาประมาณ 18.30 น. และเปิดฉายในรอบทั่วไปวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 17.00 น. และจะเข้าฉายจริงวันที่ 21 ธันวาคมนี้เป็นต้นไป

https://youtu.be/6HZgMUXapMg

 

 

ภาพยนตร์เรื่อง The Zookeeper’s Wife” จะฉายรอบทั่วไปในวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 14.30 น. และวันที่ 10 ธันวาคม เวลา 19.30 น.

 

Human Flow

Human Flow

  “Human Flow” คือผลงานหนังสารคดีเรื่องเยี่ยมฝีมือของ “อ้าย เว่ย เว่ย” ศิลปินชาวจีนที่มีชื่อเสียงระดับโลก ว่าด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในยุคปัจจุบัน โดยภาพยนตร์จะพาผู้ชมไปสัมผัสกับการดิ้นรนของผู้คนกว่า 65...

รายละเอียดภาพยนตร์

Featured News