In the Mood for Love

วันเข้าฉาย: 29/10/2020 ดราม่า, โรแมนติก 01 ชั่วโมง 38 นาที

เรื่องย่อ

At the end of my film In the Mood for Love, there was a caption:

He remembers those vanished years.

As though looking through a dusty window pane,

the past is something he could see, but not touch.

And everything he sees is blurred and indistinct.

It was my exact feeling when I watched the film again in 2015.

In collaboration with the Criterion Collection and with the meticulous work of L’Immagine Ritrovata,

we spent five years on the restoration of not only In the Mood for Love, but also the rest of this collection.

Now, the window is no longer dusty.

WKW

 

ผลงานสุดเหงาของผู้กำกับ “หว่องกาไว” กับการเล่าเรื่องความรักของชายหญิงภายใต้ฉากหลังของฮ่องกงในปี 1962 ที่ต้องติดอยู่กับความผิดต่อจารีตประเพณี “โจวมู่หวัน/คุณเชา” (เหลียงเฉาเหว่ย) และภรรยาของเขาย้ายมายังฮ่องกง พร้อมกับๆ “ซูไหล่เจิน/คุณนายชาน” (จางม่านอวี้) และสามีของเธอ ทั้งสองครอบครัวนี้ย้ายมาอยู่ในห้องเช่าติดกันในวันเดียวกันพอดี แต่ชีวิตคู่ของแต่ละฝ่ายกำลังจืดจางและมาถึงทางตันจนไม่มีเวลาได้อยู่ด้วยกันเท่าที่ควร เมื่อคนเหงาอยู่ใกล้คนเหงา ยิ่งคุณนายชานได้เจอคุณเชาบ่อยเข้า ความรู้สึกผูกพันก็ยิ่งลึกซึ้ง และพัฒนากลายเป็น “ความสัมพันธ์ต้องห้าม” ที่ไม่ว่าใครก็ยากจะห้ามใจได้…

 

 

เกร็ดน่ารู้:

  • ในบรรดาหนังทั้งหมดของผู้กำกับ “หว่องกาไว” เขายอมรับเลยว่า “In the Mood for Love” คือหนังที่เขา “ทำยากที่สุดในชีวิต” หนังใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น 15 เดือน โดยเหลืออีกประมาณ 1 อาทิตย์จะต้องฉายใน “เทศกาลหนังเมืองคานส์” แล้ว เขายังตัดต่อไม่เสร็จสมบูรณ์ดี แต่พอออกฉาย หนังก็ได้เข้าชิง “รางวัลปาล์มทองคำ” (Palme d’Or) และนับตั้งแต่นั้นก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “หนึ่งในหนังเอเชียเรื่องเยี่ยมที่สุด” ที่เคยสร้างมา
  • “In the Mood for Love” เข้าฉายครั้งแรกใน “เทศกาลหนังเมืองคานส์ ปี 2000” นั่นหมายความว่าปัจจุบันในปี 2020 หนังมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์เรียบร้อย
  • ตอนแรก “หว่องกาไว” อยากตั้งชื่อหนังว่า “Secrets” หรืออะไรสักอย่างที่มีคำว่า “Secrets” แต่อาจเพราะชื่อดูจะธรรมดาไป ซ้ำซ้อนกับหนังเรื่องอื่นได้ง่าย แถมผู้จัดเทศกาลหนังเมืองคานส์ไม่ยอมให้ใช้ชื่อนี้ จนในที่สุดมาลงเอยที่ “In the Mood for Love” ซึ่งมีที่มาจากเพลง “I’m in the Mood for Love” ของ “ไบรอัน เฟอร์รี” (Bryan Ferry) หว่องกาไวบอกว่าชื่อนี้เข้ากับอารมณ์ของหนังและความรู้สึกของตัวละครนำพอดี
  • ฉากหลังของ “In the Mood for Love” เกิดขึ้นในฮ่องกงปี 1962 เป็นปีที่ “หว่องกาไว” ในชีวิตจริงอายุเพียงแค่ 5 ขวบเท่านั้น โดยชีวิตช่วงนั้นของเขาเกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งต้องย้ายจากเซี่ยงไฮ้มาอยู่ฮ่องกงตามพ่อแม่ ต้องพลัดพรากจากพี่น้อง แถมพอมาอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ก็มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับผู้คน เนื่องจากพูดภาษาจีนกวางตุ้งไม่ได้
  • ถึงจะมีปัญหาหลายอย่างแต่ฮ่องกงยุคนั้นก็ยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำของ “หว่องกาไว” และนั่นเป็นสาเหตุที่เขาวางให้เป็นฉากหลังของเรื่องด้วย หว่องกาไวขยายความว่าช่วงนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่ฮ่องกง แต่เพราะไม่สามารถต่อติดกับวิถีชีวิตในฮ่องกงได้ ทำให้พวกเขาอยากย้ายกลับไปจีนแผ่นดินใหญ่เช่นที่เคยเป็น เราจะเห็นตัวละครหลายตัวในหนังเกิดความรู้สึกนี้ ไม่ต่างอะไรกับชาวจีนจำนวนมากในยุคนั้นรวมทั้งตัวของผู้กำกับเองด้วย
  • “หว่องกาไว” อาจ “กระทำความหว่อง” เนรมิต “ฮ่องกง” ให้ออกมาเป็นเมืองที่มีความล่องลอย ผู้คนใช้ชีวิตราวกับกำลังอยู่ในเมืองแห่งความฝัน เมืองที่ดูเหนือจริง แต่หากสังเกตดีๆ ฮ่องกงในหนังเรื่องนี้มีสภาพที่ซอมซ่อ แออัด ไม่ค่อยน่าอยู่ โดยหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำก็คือย่าน “บางรัก” และ “เจริญกรุง” ใน “กรุงเทพฯ ประเทศไทย” นั่นเอง
  • ตอนแรกหนังวางแผนจะถ่ายทำที่ “กรุงปักกิ่ง” แต่เพราะทางการจีนขอดูบทภาพยนตร์ก่อนถึงจะอนุมัติให้ถ่ายได้ “หว่องกาไว” เลยขนทีมงานย้ายไปถ่ายที่ “มาเก๊า” แทน เพราะตามประสาหว่องกาไว เขาไม่เคยถ่ายหนังโดยใช้บทภาพยนตร์
  • หนังกำกับภาพโดย “คริสโตเฟอร์ ดอยล์” และ “ปิงบินลี” สองผู้กำกับภาพแถวหน้าของแวดวงภาพยนตร์โลก โดยรายแรกถือเป็นยอดตากล้องที่ร่วมงานกับ “หว่องกาไว” เป็นประจำ “In the Mood for Love” ถือเป็นผลงานเรื่องที่ 6 ที่ทั้งคู่แท็กทีมกัน
  • ขาประจำอีกคนในหนังของ “หว่องกาไว” คือ “เหลียงเฉาเหว่ย” นักแสดงนำชายคู่บุญ ผลจากการแสดงในหนังเรื่องนี้ทำให้เขาได้ “รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม” จาก “เทศกาลหนังเมืองคานส์” และเป็น “นักแสดงชาวฮ่องกงคนแรก” ที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย
  • นางเอกที่ประกบคู่ “เหลียงเฉาเหว่ย” ใน “In the Mood for Love” คือ “จางม่านอวี้” นักแสดงสาวพราวเสน่ห์ เคมีระหว่างทั้งคู่เข้ากันดีเกินไปจนมีข่าวว่าทั้งคู่ตกหลุมรักกันในกองถ่าย ทำให้ “หลิวเจียหลิง” ภรรยาของเหลียงเฉาเหว่ย นักแสดงสาวมากฝีมือชาวฮ่องกงซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของจางม่านอวี้โกรธควันออกหูและเลิกญาติดีกันนับตั้งแต่นั้น อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา แต่ละฝ่ายต่างออกมาแก้ข่าวว่าไม่จริง ไม่เคยมีปัญหากันแต่อย่างใด
  • ทุกฉากที่ “จางม่านอวี้” ปรากฏกายใน “In the Mood for Love” เธอจะสวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมือนกันเลยสักชุด โดยหากนับรวมฉากที่ถูกตัดออก จำนวนชุดที่เธอใส่ถือว่ามากกว่า 40 ชุดเลยทีเดียว

 

 

“In the Mood for Love”

29 ตุลาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์


นักแสดง

เหลียงเฉาเหว่ย (Tony Leung Chiu Wai)
จางม่านอวี้ (Maggie Cheung)

ผู้กำกับ

หว่องกาไว (Wong Kar-Wai)

รางวัล

“Asia-Pacific Film Festival 2000” – Best Cinematography (Christopher Doyle, Ping Bin Lee), Best Editing (William Chang) / “British Independent Film Awards 2001” – Best Foreign Independent Film (Foreign Language) / “Cannes Film Festival 2000” – Best Actor (Tony Chiu-Wai Leung), Technical Grand Prize (Christopher Doyle, Ping Bin Lee, William Chang) / “Chinese Film Media Awards 2001” – Best Actor (Tony Chiu-Wai Leung), Best Actress (Maggie Cheung), Best Cinematography (Christopher Doyle, Ping Bin Lee) / César Awards 2001 – Best Foreign Film (Meilleur film étranger) / “Golden Horse Film Festival 2000” – Best Leading Actress (Maggie Cheung), Best Cinematograpy (Christopher Doyle, Ping Bin Lee), Best Makeup & Costume Design (William Chang) / “Hong Kong Film Awards 2001” – Best Actor (Tony Chiu-Wai Leung), Best Actress (Maggie Cheung), Best Film Editing (William Chang), Best Art Direction (William Chang), Best Costume & Make Up Design (William Chang) / National Society of Film Critics Awards 2002 – Best Foreign Language Film, Best Cinematography (Christopher Doyle, Ping Bin Lee) / “New York Film Critics Circle Awards 2001” – Best Foreign Language Film, Best Cinematography (Christopher Doyle, Ping Bin Lee) / “New York Film Critics Online 2001” (Best Foreign Language Film)


โปสเตอร์ภาพยนตร์


ตัวอย่างภาพยนตร์ / คลิป


รูปภาพ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง