หลายๆ คนคงจะรู้จัก “เหตุการณ์เพิร์ล ฮาร์เบอร์” เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริการะหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทางกลับกันหากพูดถึง “มิดเวย์” แล้วนั้นคงจะมีน้อยคนที่รู้จักเหตุการณ์นี้ ทั้งๆ ที่เป็นอีกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นหลังจากเพิร์ล ฮาร์เบอร์เพียง 6 เดือน
หลังการโจมตีแบบสายฟ้าแลบของกองทัพญี่ปุ่นที่บุกถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์อย่างย่อยยับในวันที่ 7 ธันวาคม 1941 และเดินหน้าเก็บชัยชนะในหมู่เกาะต่างๆ ของมหาสมุทรแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่กองทัพญี่ปุ่นยังวิตกกังวลคือแสนยานุภาพของกองเรือสหรัฐฯ โดยเฉพาะกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่ยังอยู่ในฐานะที่มีโอกาสต่อต้านญี่ปุ่นได้ และเพื่อเป็นการต่อยอดชัยชนะจากศึกเพิร์ล ฮาร์เบอร์ชนิดเบ็ดเสร็จ กองทัพของญี่ปุ่นจึงวางแผนทำลายกองเรือสหรัฐฯ ให้สิ้นซากโดยมีเป้าหมายอยู่ที่หมู่เกาะมิดเวย์ ฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
1) “มิดเวย์” สมรภูมิพลิกประวัติศาสตร์
“มิดเวย์ อะทอลล์” เป็นหมู่เกาะที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ตั้งของฐานทัพอากาศและฐานทัพเรือสหรัฐ และยังอยู่ตรงจุดเกือบกึ่งกลางระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น จึงทำให้มิดเวย์ อะทอลล์เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ รวมไปถึงเป็นเป้าหมายหลักของญี่ปุ่น หลังจากเหตุการณ์เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ถ้าหากญี่ปุ่นได้ครอบครองมิดเวย์ โอกาสที่ญี่ปุ่นจะเป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้จะเพิ่มเป็นทวีคูณ
2) ความพ่ายแพ้จากความชะล่าใจ
กองทัพญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเคลื่อนกองพลก่อน นำโดย “พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ” มีการวางแผนอย่างซับซ้อน เริ่มจากการส่งกองกำลังพลเล็กไปยังหมู่เกาะอะลูเชียนเพื่อดึงความสนใจของสหรัฐฯ ออกจากมิดเวย์ แต่แล้วแผนการก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ญี่ปุุ่นคิดไว้
ความชะล่าใจเป็นต้นเหตุแห่งความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น ยามาโมโตะคิดว่ากองกำลังของตนเองมีมากกว่าอเมริกาถึง 4:1 จนลืมคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะล่วงรู้แผนของญี่ปุ่นล่วงหน้า ส่งผลให้กองทัพญี่ปุ่นเองกลับเป็นฝ่ายที่กำลังเดินเข้าหลุมพรางโดยไม่คาดคิด
3) แผนถอดรหัสคว่ำแผนรบศัตรู
เนื่องจากความเสียหายจากเพิร์ล ฮาร์เบอร์ทำให้กองทัพสหรัฐฯ ทำงานกันหนักมากแบบนาทีต่อนาทีอย่างไม่ย่อท้อ จนนำไปสู่ความได้เปรียบระหว่างศึกครั้งนี้ เมื่อ “ผู้บัญชาการ โจเซฟ รอชฟอร์ด” หัวหน้าหน่วยข่าวกรองกองทัพเรือสหรัฐฯ และทีมงานสามารถถอดรหัสลับของญี่ปุ่น ทำให้สหรัฐฯ ล่วงรู้แผนการรบของทางญี่ปุ่นทั้งเวลา กำลังพล และแผนการโจมตีที่มิดเวย์
“พลเรือเอก เชสเตอร์ เนมิตซ์” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือยูเอสแปซิฟิก วางแผนการรบส่วนใหญ่ไปที่การโจมตีทางอากาศ วางตำแหน่งเรือบรรทุกเครื่องบินทุกลำให้ไกลจากรัศมีการโจมตีจากญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายหลักในการจมเรือบรรทุกเครื่องบินของฝ่ายญี่ปุ่นด้วยยุทธศาสตร์การรบจากทั้งทางน้ำและทางอากาศ
กองทัพญี่ปุ่นที่กำลังมุ่งความสนใจไปอยู่ที่การจู่โจมมิดเวย์ก็ต้องตกใจเมื่อจู่ๆ เรือของญี่ปุ่นเองถูกโจมตีจากทางอากาศจากสหรัฐฯ โดยไม่ทันได้เตรียมตัว
4) หนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในยุทธนาวีนี้
การโจมตีระลอกแรกที่ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดลงที่โรงเก็บเครื่องบิน รันเวย์ โรงพยาบาล และโรงไฟฟ้าของมิดเวย์ ทำให้กองทัพสหรัฐฯ เกิดความเสียหายอย่างมาก แต่ด้วยความกล้าหาญของ “นาวาตรี เวด แม็คคลัสกี้” และทีมนักบินของเขาทำให้สหรัฐฯ กลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามครั้งนี้
แม็คคลัสกี้ตัดสินใจสู้แม้ต้องพลีชีพด้วยพลังและเชื้อเพลิงอันน้อยนิดที่เหลืออยู่ มุ่งสู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่ญี่ปุ่นกำลังพุ่งตรงไปยังกองเรืออเมริกัน การตัดสินใจครั้งนี้ของแม็คคลัสกี้ไม่สูญเปล่า ฝูงบินของแม็คคลัสกี้ทิ้งระเบิดเข้าเป้าเก้าลูก มีลูกหนึ่งโดนถังน้ำมันใกล้บริเวณสะพานเรือเต็มๆ เรือคากะถูกทำลายย่อยยับ จึงส่งผลให้สหรัฐฯ กลับมาเป็นผู้ถือไพ่เหนือกว่าและนำไปสู่ชัยชนะ
และในปี 2019 นี้ ยุทธนาวีเปลี่ยนเกมสงครามโลกครั้งนี้ได้รับการนำเสนอในฐานะภาพยนตร์แอคชั่นมหากาพย์ฟอร์มยักษ์เรื่อง “Midway” โดยผู้กำกับระดับบล็อกบัสเตอร์ฝีมือฉมัง “โรแลนด์ เอมเมอริช” (Independence Day, The Day After Tomorrow, 2012) ซึ่งทุ่มเทแรงกายแรงใจในการปลุกปั้นโปรเจกต์ “Midway” มานานกว่า 20 ปีจนกลายเป็นภาพยนตร์ที่จะนำผู้ชมทั้งโลกย้อนรอยสู่ยุทธการระทึกที่สั่นสะเทือนมหาสมุทรไปจนสุดขอบฟ้าในเดือนพฤศจิกายนนี้
พร้อมยกทัพนำแสดงด้วยทีมนักแสดงระดับโลกไว้อย่างคับคั่งทั้ง “เอ็ด สไครน์, ลุค อีแวนส์, นิก โจนาส, แพทริก วิลสัน, เดนนิส เควด, วูดดี้ ฮาร์เรลสัน, แอรอน เอ็ดฮาร์ต และ แมนดี้ มัวร์” ร่วมด้วยทีมออกแบบงานสร้างจากภาพยนตร์คุณภาพอย่าง “The Revenant” และทีมเทคนิคพิเศษจาก “Aquaman” และ “Guardians of the Galaxy” มาการันตีภาพมหาสงครามสุดสมจริง ทะยานความระทึกทะลุจอ 7 พฤศจิกายนนี้ ในโรงภาพยนตร์
แหล่งที่มาบทสัมภาษณ์ https://bit.ly/2nO4Lm9