โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง (Nong-Teng)
เรื่องย่อ
เมื่อฝรั่งยกกองมาถ่ายหนังใหญ่ นักเลงไทยมีหรือจะยอม
ปฏิบัติการฮาแบบไม่บันยะบันยังจึงเกิดขึ้น
ภารกิจชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน หัวใจต่อหัวใจ การระรานครั้งนี้มีฮาแน่
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ “เท่ง เถิดเทิง” ควงคู่ “โหน่ง ชะชะช่า”
เตรียมตัวเกะกะในแบบที่คุณต้อง “ฮาจนขากรรไกรค้าง” กันแบบตัวเป็นๆ บนจอใหญ่
“สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล” จับมือ “เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์”
พร้อมใจเขย่าแผ่นฟิล์มในแบบที่ทุกคนต้อง “ตะลึง”
ใน “โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง”
บางกอก เมื่อ พ.ศ. 2466 ลิเกกำลังเสื่อมความนิยม มหรสพใหม่ที่เรียกกันว่า “ภาพยนตร์” หรือ “หนัง“ กำลังเป็นที่จับตามอง แม้ในแง่กลุ่มคนดูจะไม่ได้แย่งกันอย่างเด่นชัด แต่ในแง่ศักดิ์ศรีของความเป็นมหรสพพื้นบ้านที่สืบสานต่อกันมาจนเป็นมรดกของชาติบัดนี้กลับถูกมหรสพต่างชาติรุกราน
เมื่อวิกลิเกต้นไทร ท้ายวัดสระเกศ วิกลิเกที่ยอมรับกันว่ามีคนดูอยู่ในอันดับต้นๆ ของบางกอก เพราะติดใจในเรื่องราวที่ผูกขึ้นมาไม่ซ้ำใคร และลีลาของ “บุญเท่ง” (เท่ง เทิดเถิง) กับ “ลิ้นจี่” (ฝ้าย-อิสรีย์ สงฆ์เจริญ) คู่พระนางสายเลือดแท้ๆ ของ “นายแดง” (อุดม ชวนชื่น) เจ้าของวิก ทำให้วิกลิเกแห่งนี้ยังคงสร้างความสำราญอยู่ได้ จนมีจดหมายจากทางการขอความร่วมมืออำนวยความสะดวกให้กองถ่ายภาพฉายหนังเรื่อง “นางสาวสุวรรณ” กำลังจะมาใช้สถานที่ซึ่งมีต้นไทรและภูเขาทองมองเห็นเป็นเบื้องหลังโดยจำเป็นต้องรื้อวิก
บุญเท่งและ “ชาวคณะ” (นุ้ย เชิญยิ้ม, กิ๊บ โคกคูน) ไม่ยอมถึงกับประกาศกร้าวให้ “สยามต้องเลือกว่าถ้ามีนางสาวสุวรรณต้องไม่มีลิเกต้นไทร” แน่นอน สยามเลือก “นางสาวสุวรรณ” การต่อต้านขัดขวางทุกรูปแบบจึงได้เริ่มขึ้น โดยมี “น้อยโหน่ง” (โหน่ง ชะชะช่า) นักเลงคุมถิ่นที่มาติดพันลิ้นจี่น้องสาวบุญเท่งเข้าร่วมด้วย
เรื่องราวคงจบลงโดยง่าย ถ้านางเอกที่แสดงเป็นนางสาวสุวรรณ ไม่ใช่คนเดียวคนนั้นที่บุญเท่งเฝ้าฝันถึง เธอชื่อ “นวลจันทร์” (นิกัลยา ดุลยา)
บุญเท่งต้องเลือกระหว่างชาวคณะลิเกกับนวลจันทร์ ส่วนน้อยโหน่งยังไงก็เลือกลิ้นจี่อยู่แล้ว แต่ถ้าการขัดขวางนี้ไม่สำเร็จความรักของเขาก็หมดอนาคตด้วย
เรื่องราวของความรักบนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นศิลปิน บุญเท่งและน้อยโหน่งจำต้องทำตัวเป็นนักเลง
เตรียมตัวนับถอยหลังประกาศสร้างความฮาแบบไม่เกรงใจ ปูพรมยืนยันฉาย “โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง” พร้อมกันทั่วประเทศ 30 มีนาคม 2549
บันทึกผู้กำกับ “พาณิชย์ สดสี” ถึงบางส่วนของความเป็น “โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง”
ความจริงหรือแรงบันดาลใจ (Fact)
เป็นเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่ง เราเรียกว่าเป็นโรงลิเกโรงหนึ่งซึ่งในยุคนั้นก็จะมีตรอกซึ่งมีอยู่จริงๆ นะจะอยู่ในอดีต แถวๆ ภูเขาทองจะมีตรอกอยู่ตรอกหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “ตรอกพระยาเพชร” เป็นตรอกที่เป็นชุมชนของคนที่เป็นนาฏศิลป์ไทย ลิเก ละครนอกละครใน หนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากตรงนั้น ซึ่งก็เลยกำหนดให้โรงยี่เกทรงเครื่องวิกของนายแดงตั้งอยู่ตรงนั้น โดยในยุคเดียวกันมันก็มีภาพยนตร์เข้ามาฉายในพระนครซึ่งเป็นที่ฮิตมาก คนจะแห่ไปดูกันมากเลย แต่ไม่มีหนังไทยนะ
รูปแบบ (Style)
“โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง” เป็นหนังพีเรียดที่เป็นคอเมดี้ แต่ว่าเราไม่ได้ทำให้เป็นพีเรียดแท้แบบของชิ้นนี้หลุดจากยุคไม่ได้นะ หนังเรื่องนี้จึงนำเสนอออกมาเป็นพีเรียดที่มีดีไซน์ เราอยากให้เป็นหนังพีเรียดที่มีภาพแปลกแตกต่างจากหนังพีเรียดทั่วๆ ไป เราก็เลยเซตฉากขึ้นมาใหม่ จะเป็นเซตแบบที่ไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่น สีสันจะจัดกว่าความจริงในยุคนั้น เพราะเป็นทางภาพของหนังสมัยนั้น อย่างเช่นที่เราไปเซอร์เวย์รีเสิร์ชมาว่าคนยุคนั้นนิยมใส่เสื้อสีขาวกันมากเลย หรือไม่ก็สีเทา หรือสีแดงน้ำหมาก เพราะฉะนั้นถ้าเอาคนใส่เสื้อสีขาวไปยืนบนฉากที่เป็นสีขาวมันก็จะไม่สวย ตัวฉากก็จะมีสีที่เข้มกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ภาพมันออกมาสวยด้วย มันเป็นพีเรียดที่มีการดีไซน์ออกมาอีกนิดหนึ่ง แต่ว่าก็ไม่ได้ดูออกมาสมัยใหม่มากเกินไป จะดูออกมาเป็นโพสต์โมเดิร์นมากกว่า เรื่องราวเกิดขึ้นในยุค 2466 จนถึงยุค 70 ประมาณยุค ร.6
Anthony Donnelly Nong-Teng Simon Assaf กิ๊บ โคกคูน ครรชิต ขวัญประชา ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ชาติ ชวนชื่น ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข นิกัลยา ดุลยา นุ้ย เชิญยิ้ม บอย โกสิยพงษ์ พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ พาณิชย์ สดสี สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ สีเทา หัวฟิล์ม ท้ายฟิล์ม อภิชาติ ชูสกุล อิสรีย์ สงฆ์เจริญ อุดม ชวนชื่น เท่ง เถิดเทิง เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ โทน ชวนชื่น โหน่ง ชะชะช่า โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง
นักแสดง
ผู้กำกับ
พาณิชย์ สดสีรางวัล
รางวัล “สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16” (ประจำปี 2549) – เทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม (ศิริพร เชียร์สมสุข) / รางวัล “ตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 28” (ประจำปี 2549) – กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ศรีรุ้ง กิจเดช, สุดเขตร ล้วนเจริญ), รางวัลแต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยม