ก่อตั้งโดย "คุณสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ" เมื่อ พ.ศ. 2513 โดยเป็นบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยระดับแนวหน้าของประเทศ และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศจากทั่วทุกมุมโลกในนาม "มงคลภาพยนตร์" (ภาพยนตร์เอเชีย) และ "มงคลเมเจอร์" (ภาพยนตร์ฮอลลีวูดและต่างประเทศ)
2520
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แผลเก่า" โดยผู้กำกับ "เชิด ทรงศรี" นำแสดงโดย "สรพงศ์ ชาตรี" และ "นันทนา เงากระจ่าง" เข้าฉายวันแรก (24 ธันวาคม) พร้อมคำโฆษณาติดหู "เราจักสำแดงความเป็นไทยต่อโลก" ภาพยนตร์ได้รับการตอบรับและประสบความสำเร็จอย่างงดงาม หลังจากนั้นหนังไปคว้ารางวัลใหญ่สุด Golden Montgolfiere จากเทศกาลภาพยนตร์ "Festival des 3 Continents" เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 1981 และได้รับการขึ้นทะเบียน "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 1" (พ.ศ. 2554) โดย "หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)"
2521
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง "เมืองในหมอก" โดยผู้กำกับ "เพิ่มพล เชยอรุณ" ออกฉาย (25 กุมภาพันธ์) และได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ชมและนักวิจารณ์ว่าเป็น "ภาพยนตร์คุณภาพแห่งปี" และได้รับการขึ้นทะเบียน "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2" (พ.ศ. 2555) โดย "หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)"
"สหมงคลฟิล์ม" บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์แนว "รักในรั้วมหาวิทยาลัย" ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้กำกับภาพยนตร์หน้าใหม่ชื่อ "ศุภักษร" อดีตนักเขียนหนังสือชุด "นิยายรักนักศึกษา" ผลิตผลงานภาพยนตร์รักวัยรุ่นที่ประสบความสำเร็จหลายเรื่อง อาทิ "รักทะเล้น" (2521), "หมอซ้ง" (2522), "วันนี้ยังมีเธอ" (2526), "วันวานยังหวานอยู่" (2526) และ "สยามสแควร์" (2527) เป็นต้น
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง "อีพริ้ง คนเริงเมือง" ซึ่งดัดแปลงจากนิยายชื่อดังของ "สุวรรณี สุคนธา" กำกับโดย "เริงศิริ ลิมอักษร" และนำแสดงโดย "วิยะดา อุมารินทร์" ออกฉาย
2529
ภาพยนตร์ฝรั่งเกรดบี "คิงคอง ภาค 2" เป็นเหมือนฮีโร่ของ "สหมงคลฟิล์ม" ที่พลิกวิกฤติทางการเงินของบริษัทฯ และต่อยอดให้อีกหลายๆ โปรเจกต์ได้แจ้งเกิดแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
"ยุคทองของภาพยนตร์ฮ่องกงในประเทศไทย" เนื่องจากมีภาพยนตร์ฮ่องกงถูกนำเข้ามาฉายเป็นจำนวนมากโดย "สหมงคลฟิล์ม" ภายใต้บริษัทลูกชื่อ "มงคลภาพยนตร์"(มงคลซีนีม่า) ได้รับการยอมรับว่าเป็น "ผู้นำเข้าภาพยนตร์ฮ่องกงรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย" จัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย
"คนตัดเซียน" (นำแสดงโดย โจวซิงฉือ) และ "ใหญ่สั่งมาเกิด" (นำแสดงโดย แจ็คกี้ ชาน) คือตัวอย่างชื่อไทยของหนังฮ่องกงในยุคนี้ที่ล้วนโดดเด่นเป็นที่จดจำ เพราะถูกเน้นย้ำให้แต่ละซูเปอร์สตาร์มีแบรนด์ดิงให้ผู้คนจดจำได้ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า "ฟัด / ตัด / คนใหญ่ / คนเล็ก / โหด / โคตรเซียน " เป็นต้น
2532
"สหมงคลฟิล์ม" เปิดตัวภาพยนตร์ “ฉีจี้” (Miracle) ที่นำแสดงโดย "แจ็คกี้ ชาน" (เฉินหลง) เรื่องแรกของบริษัท หลังจากนั้นก็นำเข้าภาพยนตร์ที่แสดงโดยแจ็คกี้ ชานแทบทุกเรื่อง
2533
"ยุคทองของโจวซิงฉือ" ไม่ว่าหนังจีนเรื่องไหนของเขาเข้าฉายก็จะเกิดปรากฏการณ์เต็มทุกที่นั่ง ลามไปถึงการเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ โดยเรื่องแรกที่ส่งให้โจวซิงฉือเป็นซูเปอร์สตาร์เต็มตัวก็คือ “คนตัดเซียน” (เข้าฉาย 27 ตุลาคม)
ฮอลลีวูด ฮิตส์
ภาพยนตร์เรื่อง "แรมโบ้ 3" นำแสดงโดย "ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน" เปิดตัวฉายวันแรก (28 พฤษภาคม)
ภาพยนตร์เรื่อง "ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2" (Terminator 2: Judgement Day) เข้าฉายวันแรก (13 กรกฎาคม) สร้างสถิติเป็น "หนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของปี 2534" นอกจากนี้วิดีโอที่ออกวางจำหน่ายหลังจากภาพยนตร์ออกจากโรงแล้วยังทำยอดขายสูงสุดอีกด้วย
ภาพยนตร์อีโรติกสุดร้อนแรงแห่งปี "Basic Instinct เจ็บธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา" ผลงานแจ้งเกิด "ชารอน สโตน" กับ "ท่านั่งไขว่ห้างบันลือโลก" ทำรายได้ไปกว่า 40 ล้านบาท
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง "สุริโยไท" กำกับโดย "หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล" และจัดจำหน่ายโดย "สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล” เข้าฉายเป็นวันแรกเมื่อ 17 สิงหาคม 2544 และทำรายได้รวมทั่วประเทศตลอดทั้งโปรแกรมกว่า 500 ล้านบาท และได้รับการขึ้นทะเบียน "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5" (พ.ศ. 2558) โดย "หอภาพยนตร์ (องค์การ มหาชน)"
ปลุกกระแส "ภาพยนตร์ผีเอเชีย" ครั้งแรกของการร่วมทุนทำหนังของสามประเทศอย่าง "Three อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต" กำกับโดย "นนทรีย์ นิมิบุตร" (ไทย), "ปีเตอร์ ชาน" (ฮ่องกง) และ "คิมจีอุน" (เกาหลี)
"โรงภาพยนตร์ House RCA" เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ 9 กรกฎาคม 2547 ถือเป็นโรงภาพยนตร์นอกกระแสโรงแรกในประเทศไทย เน้นฉายหนังทางเลือกและหนังหาดูยาก จนเลื่องชื่อว่าเป็น "บ้านคนรักหนัง" ที่ใครได้มาลองชมก็ล้วนติดใจจนต้องมาดูซ้ำอยู่เสมอ
"หม่อมน้อย-หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล" กลับมากำกับภาพยนตร์ให้กับ "สหมงคลฟิล์มฯ" อีกครั้งกับ "ชั่วฟ้าดินสลาย" หลังจากเคยร่วมงานกันจากการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก "เพลิงพิศวาส" (2527) โดย “ชั่วฟ้าดินสลาย” ถือเป็นผลงานท็อปฟอร์มในทุกองค์ประกอบงานสร้างของหม่อมน้อย และกวาดรางวัลทั้งสาขาการแสดง, กำกับ, ทีมสร้าง รวมถึง "ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม" จาก "สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 20" และ "คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 8"
"สหมงคลฟิล์มฯ" กับความเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยหลากหลายแนว รวมถึงภาพยนตร์แอ็กชันที่โชว์ศิลปะการต่อสู้อันลือชื่อของไทย ทักษะและความสามารถของนักแสดง-ทีมงานไทย สู่สายตาชาวโลกอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะเป็น "องค์บาก, ต้มยำกุ้ง, ช็อคโกแลต, ฅนไฟบิน, เร็วทะลุเร็ว, เกิดมาลุย, โคตรสู้ โคตรโส" ในช่วง พ.ศ. 2545-2555
2546
กำเนิด "จา-พนม ยีรัมย์" จากภาพยนตร์แอ็กชันไทยเรื่อง "องค์บาก" กำกับโดย "ปรัชญา ปิ่นแก้ว" และควบคุมคิวบู๊โดย "พันนา ฤทธิไกร" เข้าฉายเป็นวันแรกเมื่อ 31 มกราคม 2546 ทำรายได้ตลอดทั้งโปรแกรม 99 ล้านบาท และประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติเมื่อถูกซื้อไปฉายในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, จีน, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา เป็นต้น รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียน "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5" (พ.ศ. 2558) โดย "หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)"
2549
ภาพยนตร์แอ็กชันไทยรสแซ่บ "ต้มยำกุ้ง" (2548 / 180 ล้านบาท) ในชื่อภาษาอังกฤษ "The Protector" เข้าฉายวันแรกในโรงภาพยนตร์สหรัฐอเมริกา เมื่อ 8 กันยายน 2006 จัดจำหน่ายโดย "บริษัทไวน์สตีน" (The Weinstein Company) ทำรายได้เปิดตัว สัปดาห์แรก $5,034,180 อยู่ในอันดับที่ 4 ของ US Box Office ถือได้ว่าเป็น "ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่เปิดตัวสูงสุดในตารางบ็อกซ์ออฟฟิศอเมริกา”
ภาพยนตร์ไทยสยองระทึกเรื่อง "13 เกมสยอง" กำกับโดย "มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกูล" ออกฉายครั้งแรกเมื่อ 5 ตุลาคม 2549 ได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่บวกจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็น "ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถูกซื้อสิทธิ์ไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อเมริกัน" ในชื่อ "13 Beloved" ก่อนจะตามมาด้วยภาพยนตร์รักดราม่าเรื่องดัง "รักแห่งสยาม" (Love of Siam) (22 พฤศจิกายน 2550 / 42 ล้านบาท) ที่เปิดประตูหนังไทยสู่ตลาดโลกอย่างเต็มตัว
2553
ภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ "สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่ารัก" (12 สิงหาคม / 80 ล้านบาท) โคตรดังทะลุจอในไทยจนก่อกระแสฟีเวอร์ไปทั่วเอเชีย หนังกำกับโดย "วศิน ปกป้อง" และ "พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร" นำแสดงโดย "มาริโอ้ เมาเร่อ" และ "พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์"
"สหมงคลฟิล์มฯ" ก่อตั้งบริษัทย่อยชื่อ "มงคลเมเจอร์" ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 เพื่อจัดจำหน่ายภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลากหลายแนว ทั้งภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์, ภาพยนตร์การันตีรางวัล และภาพยนตร์อินดี้ รวมถึงภาพยนตร์หาดูยากจากทั่วโลก
พ.ศ. 2542 ประเดิมฉายภาพยนตร์เรื่อง "Notting Hill รักบานฉ่ำที่น็อตติ้งฮิลล์" (1999) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นำแสดงโดย "จูเลีย โรเบิร์ตส" และ "ฮิวจ์ แกรนต์" โดยตลอดทั้งโปรแกรมฉายทำรายได้ไปมากกว่า 40 ล้านบาท
พ.ศ. 2542-2559 สร้างสรรค์โครงการภาพยนตร์ทางเลือกสุดต๊าช "The Little Big Films Project" ที่รวบรวม "หนังเล็กดีรสโต" จากค่ายหนังใหญ่, ค่ายหนังอิสระ และเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ทั่วโลกที่หาดูได้ไม่ง่ายนักมาจัดฉายให้นักดูหนังในไทยได้ชมกันอย่างเต็มอิ่ม แน่นอนว่าโครงการทั้ง 11 ครั้งนี้ได้ใจคอหนังไปเต็มๆ
พ.ศ. 2544-2546 จัดจำหน่ายภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ไตรภาคแฟนตาซีเรื่อง "The Lord of the Rings" ประกอบด้วย "The Fellowship of the Ring” (2001), "The Two Towers” (2002) และ "The Return of the King" (2003) ทำรายได้รวมกันกว่า 400 ล้านบาท
พ.ศ. 2551 บุกเบิกการฉายภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมวัยรุ่นเรื่องดังระดับโลก ประเดิมด้วยภาพยนตร์โรแมนติกแฟนตาซี "The Twilight Saga แวมไพร์ ทไวไลท์" (2008-2012) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จนทำให้มีภาพยนตร์ในแนวเดียวกันนี้ถูกนำเข้ามาฉายและประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน อาทิ "Hunger Games" (2012-2023) และ "Divergent" (2014-2016) เป็นต้น
รวมถึงภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์แฟรนไชส์อีกหลากเรื่องหลายแนวที่มอบความบันเทิงแก่ผู้ชมทุกเพศทุกวัยอย่าง "Step Up" (2006-2019), "Resident Evil 1-4" (2002-2010), "Now You See Me" (2013-2016) และ "John Wick” (2014-2023) ซึ่ง "จอห์น วิค" ทั้ง 3 ภาคนั้นกลายเป็น "หนังคีอานู รีฟส์" ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในประเทศไทย
นอกจากนี้ "มงคลเมเจอร์" ยังจัดจำหน่ายหนังน้ำดีจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทั่วโลก และหนังยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์สาขาต่างๆ อาทิ "12 Years a Slave" (2013), "Her" (2013), "Spotlight" (2015), "La La Land" (2016), "Green Book" (2018), "Minari" (2020), "C'mon C'mon" (2021) และ "Coda" (2021)
หนัง LGBTQ+ หลากหลายแนว อาทิ "Moonlight" (2016), "Girl" (2018), "Supernova" (2020), "Close" (2022) รวมถึงภาพยนตร์สุดแปลกแหวกล้ำขวัญใจผู้ชมอย่าง "The Lobster" (2015), "Midsommar" (2019) และ "Triangle of Sadness" (2022)
เพื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมการดูหนังที่มีความแตกต่างแปลกใหม่ของทุกกลุ่มคนดู "มงคลภาพยนตร์" (มงคลซีนีม่า) จึงเป็นบริษัทที่มีการนำเข้าภาพยนตร์โซนเอเชียที่หลากหลายที่สุดในประเทศไทย ทั้งหนังอินดี้นอกกระแส หนังสายรางวัล หนังเฉพาะกลุ่ม และหนังจากเหล่าผู้กำกับเอเชียชั้นนำของโลกมากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีคุณภาพระดับสากลอันเป็นที่ยอมรับของนักดูหนังทุกเพศวัย
บริษัทยังปลุกกระแส “ภาพยนตร์เกาหลี” ให้กลับมาบูมอีกครั้งในประเทศไทยด้วยภาพยนตร์แอ็กชันระทึกขวัญ "Train to Busan ด่วนนรกซอมบี้คลั่ง" (2016) ที่กวาดรายได้ถล่มทลายขึ้นแท่น "ภาพยนตร์เกาหลีทำเงินสูงสุดตลอดกาลอันดับ 1 ในไทย" ทันที
พร้อมสานต่อปรากฏการณ์ "เกาหลีฟีเวอร์" ในไทยอย่างต่อเนื่องกับภาพยนตร์ดราม่าสุดระทึก "Parasite ชนชั้นปรสิต" (2019) ที่เป็น "หนังเกาหลีเรื่องแรก" ที่คว้ารางวัล "หนังยอดเยี่ยมออสการ์" ได้สำเร็จ
ครบรอบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2563
จนถึงปัจจุบันบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิต "ภาพยนตร์ไทยคุณภาพ" และสรรหา ”ภาพยนตร์ต่างประเทศฟอร์มดี” จากทั่วโลก
เพื่อให้ครบอรรถรสความบันเทิง ตอบสนองวัฒนธรรมการดูหนังที่แปลกต่างหลากหลายของผู้ชมชาวไทย
รวมถึงการผลิตคอนเทนต์ภายใต้แนวคิดส่งเสริมให้ผลงานของไทยอยู่ในใจคนไทยและคนทั่วโลกอย่างยั่งยืน
...ด้วยความเชื่อ ความรัก ที่มีต่อโลกภาพยนตร์...
ก่อตั้งโดย “คุณสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ” ในปี พ.ศ. 2513
2523
พ.ศ. 2523 ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “อีพริ้ง คนเริงเมือง” ซึ่งดัดแปลงจาก นิยายชื่อดังของ “สุวรรณี สุคนธา” กำกับโดย “เริงศิริ ลิมอักษร” และนำแสดงโดย “วิยะดา อุมารินทร์” ออกฉาย
2529
พ.ศ. 2529 หนังฝรั่งเกรดบี คิงคองภาค2 เป็นเหมือนฮีโร่ของสหมงคลฟิล์ม ที่พลิกวิกฤติทางด้านการเงินของบริษัทฯ ต่อยอดให้อีกหลาย ๆ โปรเจกต์ ได้เกิดแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์แนว “รักในรั้วมหาวิทยาลัย” ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้กำกับภาพยนตร์ หน้าใหม่ชื่อ “ศุภักษร” อดีต นักเขียนหนังสือชุด “นิยายรักนักศึกษา” ผลิตผลงานภาพยนตร์ รักวัยรุ่นที่ประสบความสำเร็จหลายเรื่องอาทิ “รักทะเล้น” (2521), “หมอซ้ง” (2522), “วันนี้ยังมีเธอ” (2526), “วันวานยังหวานอยู่” (2526) และ “สยามสแควร์” (2527) เป็นต้น
พ.ศ 2537 ในยุคที่ภาพยนตร์ไทยแนว “กระโปรงบานขาสั้น” ครองตลาด ภาพยนตร์เรื่อง “เสียดาย” ซึ่งเป็นภาพยนตร์วัยรุ่นสะท้อนสังคม กำกับโดย ”ท่านมุ้ย-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล” ออกฉาย สร้างสถิติทำรายได้เฉพาะในกรุงเทพฯ สูงถึง 52 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้รับ “รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 18” ถึง 9 รางวัล รวมถึง “ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม” และ “ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม”
“ยุคทองของภาพยนตร์ฮ่องกงในประเทศไทย” เนื่องจากมีภาพยนตร์ฮ่องกงถูกนำเข้ามาฉาย เป็นจำนวนมากโดย “สหมงคลฟิล์ม” ภายใต้บริษัทลูกชื่อ “มงคลภาพยนตร์” (มงคลซีนีม่า) ได้รับ การยอมรับว่าเป็น “ผู้นำเข้าภาพยนตร์ฮ่องกงรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย” จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ที่ประสบความสำเร็จมากมาย อาทิ “คนตัดเซียน” (นำแสดงโดย โจวซิงฉือ) และ “ใหญ่สั่งมาเกิด” (นำแสดงโดย แจ็คกี้ ชาน) เป็นต้น
ชื่อไทยของหนังฮ่องกงในยุคนี้ล้วนเป็นที่จดจำ เพราะถูกเน้นย้ำให้แต่ละซุปเปอร์สตาร์มีแบรนดดิ้ง ให้ผู้คนจดจำได้ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ฟัด / ตัด / คนใหญ่ / คนเล็ก / โหด / โคตรเซียน เป็นต้น
ชื่อไทยของหนังฮ่องกงในยุคนี้ล้วนเป็นที่จดจำ เพราะถูกเน้นย้ำให้แต่ละซุปเปอร์สตาร์มีแบรนดดิ้ง ให้ผู้คนจดจำได้ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ฟัด / ตัด / คนใหญ่ / คนเล็ก / โหด / โคตรเซียน เป็นต้น
พ.ศ. 2532 วันที่ 8 กรกฎาคม “สหมงคลฟิล์ม” เปิดตัวภาพยนตร์ที่นำแสดง โดย “แจ็คกี้ ชาน” (เฉินหลง) เรื่องแรกของบริษัทมีชื่อว่า “ฉีจี้” (Miracle) หลังจากนั้นสหมงคลฟิล์มก็นำเข้าภาพยนตร์ที่แสดงโดย แจ็คกี้ ชานเกือบ ทุกเรื่อง
พ.ศ. 2533 “ยุคทองของโจวซิงฉือ” ไม่ว่าหนังจีนเรื่องไหนของโจวซิงฉือ เข้าฉายก็จะเกิดปรากฏการณ์เต็มทุกที่นั่งลามไปถึงการเข้าฉายใน โรงภาพยนตร์อย่างต่ำ 1 เดือน เรื่องแรกที่ส่งให้โจวซิงฉือเป็นซูเปอร์สตาร์ เต็มตัวคือ “คนตัดเซียน” (เข้าฉาย 27 ตุลาคม)
พ.ศ. 2531 วันที่ 28 พฤษภาคม ภาพยนตร์เรื่อง “แรมโบ้ ภาค 3” นำแสดงโดย “ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน” เปิดตัววันแรก
พ.ศ. 2534 วันที่ 13 กรกฎาคม ภาพยนตร์เรื่อง “ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2” (Terminator 2 Judgement Day) เข้าฉายวันแรกสร้างสถิติเป็น หนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2534 นอกจากนี้ม้วนวิดีโอที่ออกวางจำหน่าย หลังจาก ภาพยนตร์ออกจากโรงแล้วยังทำยอดขายสูงสุดอีกด้วย
พ.ศ. 2535 หนังสุดอีโรติคแจ้งเกิด ชารอน สโตน Basic Instinct กับท่านั่ง ไขว่ห้างบันลือโลก ทำรายได้ไปกว่า 40ล้านบาท
พ.ศ. 2544 วันที่ 17 สิงหาคม ภาพยนตร์ไทย เรื่อง “สุริโยไท” กำกับโดย “หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล” และจัดจำหน่ายโดย “สหมงคลฟิล์ม” เข้าฉายเป็น วันแรกและทำรายได้รวมทั่วประเทศ ตลอดทั้งโปรแกรมกว่า 500 ล้านบาท และได้รับ การขึ้นทะเบียน “มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5” (พ.ศ. 2558) โดย “หอภาพยนตร์ (องค์การ มหาชน)”
พ.ศ. 2545 ปลุกกระแส “ภาพยนตร์ผีเอเชีย” ครั้งแรกของการร่วมทุนทำหนัง ของสามประเทศ อย่าง “Three อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต” (กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร. ปีเตอร์ ชาน, คิมจีวูน)
พ.ศ. 2547 9 กรกฎาคม “โรงภาพยนตร์ House RCA” เปิดบริการ ครั้งแรก ถือเป็นโรงภาพยนตร์นอกกระแสโรงแรกที่มีในประเทศไทย จนเลื่องชื่อว่าเป็น “บ้านคนรักหนัง” ที่ใครได้มาลองก็ล้วนติดใจจน ต้องมาซ้ำอยู่เสมอ
พ.ศ. 2553 “หม่อมน้อย-หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” กลับมากำกับ ภาพยนตร์ให้กับ “สหมงคลฟิล์ม” อีกครั้งกับ “ชั่วฟ้าดินสลาย” หลังจาก เคยร่วมงานกันในการกำกับภาพยนตร์ เรื่องแรก “เพลิงพิศวาส” (2527) โดย “ชั่วฟ้าดินสลาย” ถือเป็นผลงานท็อปฟอร์มในทุกองค์ประกอบงานสร้างของ หม่อมน้อย และกวาดรางวัลทั้งสาขาการแสดง, กำกับ, ทีมสร้าง รวมถึง “ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม” จาก “สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 20” และ “คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 8”
กับความเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ทั้งภาพยนตร์แอคชั่นที่โชว์ทักษะความสามารถของทีมงานไทย นักแสดงไทย ศิลปะการต่อสู้แบบไทยสู่ระดับโลกอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะเป็น องค์บาก, ต้มยำกุ้ง, ช็อคโกแลต, ฅนไฟบิน, เร็วทะลุเร็ว, เกิดมาลุย, โคตรสู้ โคตรโส ในช่วง พ.ศ. 2545-2555
พ.ศ. 2546 วันที่ 31 มกราคม กำเนิด “จา-พนม ยีรัมย์” โดยภาพยนตร์ไทยเรื่อง “องค์บาก” กำกับโดย “ปรัชญา ปิ่นแก้ว”และควบคุมคิวบู๊โดย พันนา ฤทธิไกร เข้าฉายเป็นวันแรก ทำรายได้ตลอดทั้งโปรแกรม 99 ล้านบาท และได้รับการขึ้น ทะเบียน “มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5” (พ.ศ. 2558) โดย “หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)”
พ.ศ. 2547 “หม่ำ จ๊กม๊ก” นั่งแท่น “ผู้กำกับภาพยนตร์” เป็นครั้งแรกกับ “บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม” หนังกวาดรายได้ไปมากถึง 75 ล้านบาท และหลังจากนั้น ก็ตามมาด้วยหนังอีสานแนวใหม่อย่าง “แหยมยโสธร”
พ.ศ. 2549 วันที่ 8 กันยายน ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “ต้มยำกุ้ง” (2548 / 180 ล้านบาท) ในชื่อภาษาอังกฤษ “The Protector” เข้าฉายวันแรกในโรงภาพยนตร์ ที่สหรัฐอเมริกา โดย “บริษัทไวน์สตีน” (The Weinstein Company) ทำรายได้เปิดตัว สัปดาห์แรก $5,034,180 อยู่ในอันดับที่ 4 ของ US Box Office ถือได้ว่าเป็น “ภาพยนตร์ไทย เรื่องแรกที่เปิดตัวสูงสุดในตารางบ็อกซ์ออฟฟิศอเมริกา”
วันที่ 5 ตุลาคม ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “13 เกมสยอง” โดย “ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกูล” ออกฉายครั้งแรก ได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่บวกจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็น “ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถูกซื้อสิทธิ์ไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อเมริกัน” ในชื่อ “13 Beloved” ตามมาด้วยภาพยนตร์ “รักแห่งสยาม” ที่เปิดประตูหนังไทยสู่ตลาดโลก อย่างเต็มตัว
วันที่ 30 กรกฎาคม “สหมงคลฟิล์ม” ตั้งบริษัทย่อยชื่อ “มงคลเมเจอร์” เพื่อจัด จำหน่ายภาพยนตร์ฮอลลีวูด ประเดิมฉายภาพยนตร์เรื่อง “Notting Hill” (1999) นำแสดงโดย “จูเลีย โรเบิร์ตส” และ “ฮิวจ์ แกรนต์” ตลอดทั้งโปรแกรมฉายทำราย ได้ไปมากกว่า 40 ล้านบาท
“มงคลเมเจอร์” จัดจำหน่ายภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ไตรภาคแฟนตาซีเรื่อง “The Lord of the Rings” ประกอบด้วย “The Fellowship of the Ring” (2001), “The Two Towers” (2002) และ “The Return of the King” (2003) ทำรายได้รวมกันกว่า 400 ล้านบาท
2551
พ.ศ. 2551 28 พฤศจิกายน บุกเบิกการฉายภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจาก วรรณกรรมวัยรุ่นในประเทศไทย โดยประเดิมด้วยภาพยนตร์เรื่อง “Twilight แวมไพร์ ทไวไลท์” (2008) ซึ่งประสบ ความสำเร็จอย่างงดงามจนทำให้มี ภาพยนตร์ในแนวเดียวกันถูกนำเข้ามาฉายและประสบความ สำเร็จหลายเรื่อง อาทิ ภาพยนตร์ชุด “Hunger Games” และ ภาพยนตร์ชุด “Divergent”
แฟรนชายส์ John Wick ทั้ง 3 ภาค กลายเป็น หนังคีอานู รีฟท์ ที่ทำรายได้ สูงสุดตลอดกาลใน ประเทศไทย ทั้ง John Wick (2014) John Wick2 (2017) / John Wick3 (2019) และ Now You See Me
สร้างสรรค์วัฒนธรรมการดูหนังที่มีความแตก ต่างของทุกๆกกลุ่มคนดู มงคลภาพยนตร์ จึงเป็นที่บริษัทการนำเข้าภาพยนตร์ที่หลากหลายที่สุด ในประเทศไทย ทั้งหนังนอกกระแส หนังรางวัล หนังเอเชีย หนังเฉพาะกลุ่ม
พ.ศ. 2558 โสด เหงา เป็น ล๊อปสเตอร์ (The Lobster) ภาพยนตร์สุดแปลกขวัญใจคนดู ถือเป็น หนังจำกัดโรงที่ทำรายได้เหนือความคาดหมาย รวมถึง HER รักดังฟังชัด ก็ถูกใครหลายๆ คนยก ให้เป็นหนังรักสุดเหงาประจำปี 2556
พ.ศ. 2559 ครั้งแรกที่ภาพยนตร์เกาหลีทำรายได้ ถล่มบ๊อกออฟฟิศประเทศไทย “Train to Busan ด่วนนรก ซอมบี้คลั่ง” สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ เกาหลีที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลในปีนั้น และนำ ความสำเร็จตามมาสู่ “Parasite ชนชั้นปรสิต” (2562) หนังเกาหลีเรื่องแรกที่คว้ารางวัล ออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้น
ครบรอบ50ปี ในปี2563 จนถึงปัจจุบันบริษัทฯยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิต "ภาพยนตร์ไทยคุณภาพ" และ สรรหา ”ภาพยนตร์ต่างประเทศ” ที่หลากหลายจากทั่วโลก เพื่อให้ครบอรรถรสความบันเทิงตอบสนองวัฒนธรรมการดูหนังที่หลากหลายของผู้ชมชาวไทย รวมถึงการผลิตคอนเทนท์ภายใต้แนวคิดส่งเสริมให้คอนเทนท์ไทยอยู่ในใจคนไทยและคนทั่วโลกอย่างยั่งยืน
...ด้วยความเชื่อ ความรัก
ที่มีต่อโลกภาพยนตร์