“อย่าเรียกเธอว่าขี้แพ้” เปิดข้อมูลเต็ม-เบื้องหลังภาพยนตร์ฟีลกู๊ดน้ำตาซึม “Please Stand By เนิร์ด…แล้วไง! มีหัวใจนะเว้ย” ร่วมผจญภัยไปกับสาวเนิร์ด 19 เมษายนนี้

PleaseStandBy-Poster-TH02

 

เรื่องย่อ

“เวนดี้ วอลคอตต์” อายุ 28 ปี เธอชอบเต้นและฟังเพลงจากไอพอด เธอชอบถักเสื้อผ้าให้สิ่งของไม่มีชีวิต  เธอทำงานที่ร้านขนมหวานซินนาบอน นอกจากนั้นเธอยังเป็นผู้ป่วยออทิสติก เธอต้องการพิสูจน์ให้ “ออเดรย์” พี่สาวยอมรับว่าเธอสามารถดูแลตัวเองได้ เธอจึงหนีออกจากสถานพักฟื้นเพื่อนำบทละครโทรทัศน์ Star Trek ที่เธอเขียนขึ้นไปส่งประกวด ถึงกระนั้นสิ่งที่เวนดี้ต้องการที่สุดคือ “การกลับบ้าน” ต่างหาก

 

“โลก” สถานที่ชวนฉงนสำหรับ “เวนดี้” หญิงสาวผู้ป่วยเป็นออทิสติกที่ฉลาดหลักแหลมและรักอิสระ เวนดี้มีกำหนดจะได้ออกจากสถานพักฟื้น ได้กลับไปอยู่กับครอบครัว ไปอยู่กับพี่สาวและลูกของเขา แต่ก่อนอื่น เธอต้องพิสูจน์ตัวเองเสียก่อน เธอเป็นแฟนเดนตายของ Star Trek ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องนั่งเขียนแฟนฟิคชันของ Star Trek ทุกที เธอไม่เข้าใจผู้คนที่อยู่รายรอบ แต่เธอกลับใช้ความชอบที่มีต่อซีรีส์เรื่องโปรดเพื่อทำความเข้าใจพวกเขา และเมื่อมีการประกาศแข่งขันเขียนบทซีรีส์เรื่องนี้ เวนดี้จึงรีบเขียนบทจำนวน 500 หน้าให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อนำไปส่งประกวด แต่อุปสรรคสำคัญคือ ที่ที่เธอต้องเดินทางไปส่งงานนั้นอยู่ห่างไปถึงหลายร้อยไมล์

 

เวนดี้ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เธอพา “พีต” เจ้าหมาน้อยใส่กระเป๋าพร้อมกับเงินอีกจำนวนหนึ่ง แล้วก้าวทะยานไปยังสถานที่ที่เธอไม่เคยไปเยือนมาก่อน โดยมี “จิตแพทย์” และพี่สาวของเธอ “ออเดรย์” ออกเดินทางตามหาเธอมาติดๆ และด้วยความช่วยเหลือของมิตรสหายที่เธอพบรายทาง เวนดี้จึงได้เรียนรู้ที่จะทำตามความฝัน และมองหาโลกที่จะยอมรับในตัวเธอว่า เธอก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งไม่ต่างจากใครบนโลกใบนี้

 

PleaseStandBy-Info01

 

เบื้องหลังงานสร้าง

มือเขียนบท “ไมเคิล โกแลมโค” ได้แรงบันดาลใจในการเขียนบท Please Stand By” มาจากบทความในหนังสือพิมพ์ New York Times ซึ่งว่าด้วยค่ายซัมเมอร์แคมป์ของผู้หญิงวัยรุ่น โดยมีอยู่คนหนึ่งที่ชอบเขียนแฟนฟิคชันเกี่ยวกับ Lord of the Rings

 

“ผู้หญิงคนนั้นโดนใจผมอย่างจัง ในบทความกล่าวว่าผู้หญิงที่ป่วยเป็นออทิสติกจะมีปัญหาในการเข้าสังคม โดยสิ่งที่ทำให้พวกเธอแตกต่างจากผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคนี้คือ ผู้หญิงมีความต้องการจะเชื่อมต่อกับสังคมอยู่ แก่นของตัวละครเวนดี้เริ่มพัฒนาขึ้นมาจากจุดนั้น จากไอเดียที่ว่าเธอต้องการจะเชื่อมต่อกับคนทั้งโลก แต่ไม่รู้ว่ามันต้องทำอย่างไร และการผจญภัยเพื่อการเรียนรู้ของเธอเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร”

 

โกแลมโคเริ่มต้นด้วยการเขียนบทละคร 1 องก์ 28 หน้าขึ้นมาบทละครที่ผมเขียนมีตัวละครตั้งต้นของหนังเรื่องนี้” เขาอธิบาย “เรื่องราวจบลงเมื่อเวนดี้หนีออกไปพร้อมกับบทละครหลังจากทะเลาะกับพี่สาว และหลังจากต้องรับมือกับสก็อตตี้ พอเธอเดินออกจากประตูไปปุ๊บ เราไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้างหลังจากนั้น เรารู้แค่ว่าเธอมีภารกิจต้องนำบทไปส่งถึงที่หมาย”

 

ไมเคิลนำบทละครนี้มาทำเป็นละคร 1 องก์ออกแสดงพร้อมกับละคร 1 องก์เรื่องอื่นๆ ที่โรงละครลิตเติลแบล็กบ๊อกซ์ที่แอลเอ แล้วปรากฏว่าผู้คนชอบมาก “พวกเขาออกจากโรงพร้อมกับคราบน้ำตาและอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้างหลังจากออกจากบ้านไป” เขาทบทวนความทรงจำ

 

“ผมเลยคิดว่าอยากเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ผมใช้แนวทางแบบหนังคลาสสิคอย่าง Wizard of Oz และ Little Red Riding Hood มาปรับใช้ให้ดูทันสมัยขึ้นครับ”

 

ไมเคิลเรียนรู้ข้อมูลว่าคนที่เป็นออทิสติกมีความรู้สึกอยากเชื่อมต่อกับใครต่อใคร เวนดี้เองอยากเชื่อมต่อกับผู้ดูแลเธอที่ชื่อว่า “สก็อตตี้” ผู้สอนให้เธอรู้จักดูแลตนเองในโลกแห่งความเป็นจริง และดูแล “ออเดรย์” พี่สาวของเธอซึ่งพยายามจะพาตัวเธอกลับบ้านให้ได้ ออเดรย์ต้องหาทางดูแลทุกอย่างให้เรียบร้อยหลังจากแม่ของเธอเสียชีวิต และตอนนี้เธอยังมีลูกด้วย จนกว่าจะถึงตอนนั้นเวนดี้จำเป็นต้องไปอยู่สถานพักฟื้นและมันทำให้ทั้งคู่ห่างจากกันทีละนิดๆ เวนดี้อยากพิสูจน์ให้พี่สาวเห็นว่าเธอสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวของเธอเอง เธอสามารถทำสร้างสิ่งที่มีค่าขึ้นมาได้ และหนึ่งในนั้นคือบทที่เธอเขียนขึ้น ซึ่งเธอต้องการจะนำมันไปส่งเข้าประกวด

 

สำหรับผู้อำนวยการสร้าง “แดเนียล ดูเบคกี้” และ “ลารา อลาเมดไดน์” แรงผลักดันในการสร้าง Please Stand By” ของพวกเขาเริ่มมาจากความรักที่มีต่อบทภาพยนตร์

 

“ทันทีที่คุณได้พบกับเวนดี้ คุณก็ตกหลุมรักหนังเรื่องนี้ทันที และอ้าแขนรับมุมมองอันแปลกประหลาดที่ของชีวิตและของเธอเองทันทีครับ” ดูเบคกี้กล่าว

 

“คุณจะรู้สึกผูกพันกับความคิดที่อยากให้เธอประสบความสำเร็จ ดังนั้นทันทีที่เธอออกไปผจญภัย และไม่ยอมหยุดจนกว่าจะถึงเส้นชัย มันถือเป็นการเดินทางของเราและเธอไปด้วย คุณอยู่บนรถกับเธอ หมาของเธอ และต้องการให้เธอไปถึงฝั่งฝัน”

 

“ตอนที่เราอ่านบทหนัง เราหวนนึกถึงในทันทีว่านี่คือเรื่องและตัวละครที่มีความเป็นสากล ที่พบเจอได้ในตัวทุกคน” อลาเมดไดน์กล่าว “พวกเขานำเสนอตัวละครที่รู้สึกมีความท้าทาย รู้สึกแตกต่าง หรือรู้สึกว่าตัวเองมีสิ่งที่ต้องเอาชนะให้ได้ และนั่นคือสิ่งที่เชื่อมโยงนั่นแหละที่สะท้อนถึงตัวของเราทุกคน”

ด่านต่อไปคือ “การเลือกผู้กำกับ” และ “เบน เลวิน” คือผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ “เบนมีมุมมองในการเล่าเรื่องที่งดงามมากรวมถึงมุมมองที่มีต่อชีวิต” อลาเมดไดน์เล่า “เขากำกับหนังที่ทั้งหนักและดราม่าอย่าง The Sessions แต่เขาชั่งน้ำหนักเรื่องราวออกมาได้ลงตัว ในขณะเดียวกันก็ผสมอารมณ์ขันเข้าไปด้วย และวิธีการของเขาเหล่านั้นคือสิ่งที่ดึงดูดพวกเรา”

 

“เบนอยู่กับผู้พิการมาทั้งชีวิต” ผู้อำนวยการสร้างหญิงเล่าต่อ “ดังนั้นเวลาที่เขามองเห็นตัวละครที่มีความพิการ ความบกพร่องบางอย่าง เขาจึงปฏิบัติต่อตัวละครนั้นแบบที่เขาทำมาตลอด เขาสำรวจเรื่องราวของสิ่งที่อยู่ภายในปะทะกับสิ่งที่อยู่ภายนอก เขาคือนักเล่าเรื่องที่เผชิญหน้ากับตนเอง ฉันเชื่อด้วยว่าเขาใช้ความตลกขบขันในชีวิตของเขาเพื่อก้าวข้ามผ่านอะไรหลายๆ อย่าง เขามีจิตใจที่เหมือนเด็กและมีมุมมองต่อชีวิตที่แปลกไม่น้อยค่ะ”

 

สำหรับเบน เลวินเองมีความรู้สึกเชื่อมโยงกับบทหนังเรื่องนี้หลายๆ ประการ

 

“หนึ่งในสิ่งที่ผมประทับใจคือตัวของเวนดี้เองเป็นคนเขียนบท นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับนักเขียนและผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกคนทั้งโลกเข้าใจผิด แต่เมื่อเธอเริ่มต้นเขียนบท เธอได้ก้าวเข้าสู่โลกที่เธอเองรู้สึกสบายใจ โลกในจินตนาการที่เธอเข้าใจในทุกสิ่งอย่าง เรื่องที่เธอเขียนยังเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะเชื่อมต่อกับใครต่อใคร และเพื่อหาทางยึดติดอยู่กับโลกที่เธอไม่ค่อยเข้าใจ นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกลับบ้านของเธออีกด้วย

มีคนเคยส่งบทเกี่ยวกับผู้ป่วยเป็นออทิสติกมาให้ผมอ่านอยู่หลายครั้ง แต่บทหนังเรื่องนี้คือบทที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวาที่สุด มันมีตัวละครศูนย์กลางของเรื่องที่น่าสนใจ และประเด็นเกี่ยวกับอาการนี้เป็นประเด็นรอง ที่เราตามติดเธอเพราะเรารักเธอและอยากให้เธอประสบความสำเร็จ นี่คือเรื่องราวแบบเดียวกับวรรณกรรม Canterbury Tales เลย เวนดี้เดินทางจุด A ไปจุด B และระหว่างทางเธอได้พบเจอทั้งคนเลว คนดี คนเพี้ยนๆ และคนปกติธรรมดา การเดินทางมอบอะไรให้กับเธอและทำให้เธอได้รู้แจ้งว่าที่ไหนคือที่ๆ เธอตามหามานาน และมันถือเป็นการผจญภัยครั้งสำคัญของชีวิตครับ”

 

PleaseStandBy-Info02

 

“การคัดเลือกนักแสดง” มารับบท “เวนดี้” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ตัวละครที่น่ารักและสลับซับซ้อนนี้มีหลายระดับทั้งภายนอกและภายในให้สำรวจ ทีมงานต้องการนักแสดงที่สามารถถ่ายทอดความซับซ้อนเหล่านั้นออกมาได้โดยไม่ทำให้คนดูสนใจเพียงมิติเดียวของเธอที่มีความบกพร่องและแตกต่างไปจากผู้อื่น “ดาโกตา แฟนนิง” คือตัวเลือกแรกของทีมงาน

 

“เราต้องการคนที่รู้สึกเชื่อมโยงด้วยได้และสามารถเข้าถึงได้ คนที่จะไม่รับมือตัวละครหนักมือเกินไป คนที่จะนำมาซึ่งความเบิกบานและแสงสว่างให้กับเธอ” ดูเบคกี้อธิบาย

 

“ตอนฉันอ่านบทครั้งแรก ฉันรู้เลยว่ามันพิเศษมากๆ” แฟนนิงเล่า “ฉันอยากรับบทตัวละครตัวนี้ ฉันอยากทำให้เวนดี้มีชีวิตขึ้นมาเอง มันเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันทั้งแอบกลัวและรู้สึกท้าทายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนค่ะ ผู้คนบอกเสมอว่าให้ทำในสิ่งที่จะรู้สึกกลัวดูบ้าง ฉันเลยตัดสินใจลองทำดูค่ะ”

 

หลังจากนั้น เธอจึงหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการออทิสติกที่เวนดี้เป็น แต่ก็ยังเหลือช่องไว้ให้เธอตีความเองด้วย “ฉันไม่อยากรีเสิร์ชเรื่องออทิสติกลงลึกเกินไปค่ะ” นักแสดงสาวอธิบาย “ฉันคุยกับเบนและได้เจอผู้ป่วยที่รุ่นราวคราวเดียวกันหลายคน ฉันไม่อยากลอกเลียนแบบคนที่ป่วยเป็นออทิสติก ฉันเลยต้องสร้างเวนดี้ขึ้นมาในแบบฉบับของตัวเอง มีหลายช่วงในหนังที่เพิ่มความกลัวและความรู้สึกไม่มั่นคงของตัวเองลงไป อย่างในฉากที่สถานีรถไฟ ตอนเธอพยายามหาเงินมาจ่ายค่าตั๋ว ทุกครั้งเวลาฉันซื้อของตรงเคาน์เตอร์ ฉันจะรู้สึกกลัวที่จะเอาเงินทอนใส่กระเป๋าก่อนที่พนักงานจะรู้สึกรำคาญฉัน ฉันเลยเอาจุดนั้นมาปรับใช้แล้วเพิ่มระดับเข้าไปนิดนึงด้วย”

 

“แล้วตอนที่เราได้พบกับเวนดี้ ตอนนั้นเธอกำลังอยู่ในช่วงสับสนกับชีวิตว่าจะทำอะไรต่อ” แฟนนิงเล่า “พี่สาวของเธอมีลูก เธอเลยรู้สึกเหมือนถูกทิ้งและโดดเดี่ยว เราเห็นว่าเธอรักใน Star Trek การเข้าร่วมประกวดบทด้วยอาจเป็นหนทางนำเธอกลับบ้านก็เป็นได้ นั่นคือเป้าหมายของเธอตลอดทั้งเรื่องค่ะ จินตนาการที่เธอมีต่อ Star Trek ชักนำเธอเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง มันเป็นเรื่องของการได้เชื่อมโยงกับผู้คน และมุมมองของเธอที่มีต่อโลก เธอใช้ชีวิตมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะ Star Trek นี่แหละ”

 

เมื่อได้ตัวดาโกตา แฟนนิงแล้ว ทีมงานยังได้ “อลิซ อีฟ” มารับบทสำคัญอย่าง “ออเดรย์”  ในฐานะคนดูแลเวนดี้ เรื่องราวของออเดรย์จะนำมาซึ่งแสงสว่างส่องให้เห็นชีวิตที่ได้รับผลจากการที่สมาชิกในครอบครัวมีความต้องการบางอย่างมากเป็นพิเศษ “ออเดรย์หยุดพักการใช้ชีวิตมานานหลายปีแล้ว” แดเนียล ดูเบคกี้อธิบาย “เธอรู้สึกถูกขัง และเมื่อมีเวนดี้มาอยู่ด้วย นั่นคือครั้งแรกที่เธอดึงใครสักคนมาอยู่ด้วย แต่มันก็ทำให้เธอต้องตัดสินใจครั้งสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของเวนดี้”

 

“นอกเหนือจากการเล่าเรื่องด้วยสายตาของเวนดี้แล้ว การเล่าเรื่องของออเดรย์เองก็มีความสำคัญมากเช่นกัน” ลารา อเลเมดไดน์กล่าวเสริม “จากสายตาของออเดรย์ เราได้เห็นว่าคนในครอบครัวแต่ละคนต้องรับมือกับปัญหาในครั้งนี้ เวนดี้เองมีอาการของโรคออทิสติกทำให้เธอแสดงอารมณ์มากเกินไป อลิซ อีฟเองนำความแหลมคมมาสู่ตัวละครของเธอ ช่วยให้เราได้เข้าอกเข้าใจในตัวเธอมากขึ้น แทนที่จะรู้สึกว่าเธอเห็นแก่ตัวที่อยากได้ชีวิตของตนเองกลับคืนมา”

 

“คุณย่าของฉันป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ค่ะ” อลิซ อีฟกล่าว “เธออยู่บ้านเสมอ แล้วเวลามีใครมาเยี่ยมที่บ้าน เธอจะชอบถามว่าขอไปอยู่บ้านเขาด้วยได้ไหม ในสถานการณ์ที่เวนดี้และออเดรย์ต้องเผชิญ ฉันคิดว่าตัวละครที่เป็นฮีโร่ปิดทองหลังพระคือตัวของผู้ดูแลค่ะ แต่นั่นเป็นเพราะนี่คือสถานที่ที่ทำให้ฉันได้จัดการความรู้สึกของตัวเองในฐานะนักแสดง การดิ้นรนต่อสู้ของเธอคือของจริงและฉันเองรู้สึกเห็นใจมากๆ ด้วย ฉันอยากให้คนดูเอาความรู้สึกเข้าใจการดิ้นรนของตัวละครทิ้งไปซะ เธอเองต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อหาจุดลงตัวของชีวิตในขณะที่ต้องดูแลคนที่หาจุดลงตัวของตัวเองไมได้ไปด้วย มันคือปมที่ยากจะสะสางเพราะเวลาเวนดี้ระเบิดอารมณ์ออกมา เธอจะเกรี้ยวกราดและรุนแรง ออเดรย์เองก็ต้องดูแลลูกของเธอด้วย มันทำให้เธอไม่มีทางเลือก เธอรักน้อง แต่การต้องคอยดูแลเธอไปด้วยก็หนักหนาสำหรับเธอเหมือนกัน มันทำให้เธอไม่สามารถมอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เวนดี้ต้องการได้”

 

“ออเดรย์อยู่ระหว่างการถูกทดสอบครับ” ผู้กำกับเบน เลวินเสริม “เธอได้ภาระหน้าที่และพรจากการเติบโตมากับน้องสาวที่มีความพิเศษ เธอกลัวว่าเวนดี้จะไม่สามารถปรับตัวกับการใช้ชีวิต เพราตอนนี้เธอเองก็มีลูก มีสามี เธอต้องเลือกระหว่างคนที่เติบโตด้วยกันมา กับการอยากมีชีวิตเป็นของตัวเองและต้องปกป้องดูแลลูกในไส้ ผมเองโตมาในฐานะคนที่ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษเช่นกัน ผมมีพี่ชายคนหนึ่งและเขาไม่เคยปฏิบัติต่อผมแตกต่างจากคนอื่นเลย แต่ผมคือจุดศูนย์กลางของครอบครัว เขาเลยต้องไหลตามน้ำไปด้วยแทนที่จะได้เป็นตัวของตัวเอง ผมเลยจะรู้สึกมากเป็นพิเศษเมื่อเห็นคนเป็นพี่ต้องทำตัวมากกว่าการเป็นพี่เฉยๆ ครับ”

 

ตัวละครสำคัญรายต่อมาของเรื่องคือ “สก็อตตี้” จิตแพทย์ที่คอยดูแลเวนดี้ซึ่งรับบทโดย “โทนี คอลเล็ตต์”

 

“เรารู้ว่าโทนีจะนำสมดุลมาสู่ตัวละครของเธอที่เจอปัญหาถาโถมเข้ามาทั้งที่บ้านและที่ทำงาน” แดเนียล ดูเบคกี้อธิบาย

 

“โทนี่เป็นคนเก่ง อบอุ่น เธอนำความเฉียบแหลมและความแข็งแกร่งทำให้ตัวละครของเธอมีความซับซ้อน” ลารา อลาเมดไดน์เสริม “โทนีต้องประสานทุกอย่างเข้าด้วยกันแม้ว่าจะมีส่วนที่แตกกระจายอยู่ เธอเองมีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่นด้วย เธอจึงรวบรวมความเข้มแข็งและความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นในขณะเดียวกันยังต้องมั่นคงในพื้นฐาน และมีหลักการต่อการทำงานและการใช้ชีวิต”

 

“เวลาอยู่บ้าน สก็อตตี้จะเป็นหุ่นยนต์หน่อยๆ มันทำให้ง่ายต่อการทำงานด้วยเพื่อความปลอดภัยเวลาอยู่กับคนที่ไม่ใช่ครอบครัวตัวเอง” คอลเล็ตต์กล่าว “เวลาอยู่บ้าน แซม ลูกชายของเธอจะทำเหมือนกับว่าเธอเป็นคนล้มเหลวในทุกสิ่งอย่างตัวเธอเองเป็นนักแก้ปัญหา แต่เธอกลับแก้ปัญหาของลูกชายหรือทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้นแม้จะไม่มีพ่อไม่ได้ แต่เวลาทำงาน เธอเข้าถึงตัวเวนดี้ได้ เธอเห็นว่าเวนดี้มีความฉลาดและความพิเศษอย่างไรบ้าง และเธออยากให้ครอบครัวของเวนดี้มองเห็นจุดนี้เช่นกัน มันง่ายต่อสก็อตตี้ในการเปิดใจให้กับคนอื่นในที่ทำงาน เพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่อนุญาตให้คนสามารถใกล้ชิดกันได้โดยไม่ต้องสนิทสนมกันเกินไป”

         

“ตอนที่เวนดี้หนีไป แซมและสก็อตตี้ได้จับมือกันและร่วมหัวจมท้ายกันเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี” คอลเล็ตต์กล่าวเพิ่มเติม “การออกผจญภัยเพื่อตามหาเวนดี้ทำให้ทั้งคู่ได้ผูกพันกันอีกครั้ง มุมมองแบบเด็กที่แซมมีต่อเวนดี้และงานเขียนของเธอทำให้เขาเข้าใจแม่มากขึ้น และตอนนั้นเองที่ทำให้เธอได้มองเห็นอย่างแท้จริง สก็อตตี้เองเริ่มชื่นชมลูกของเธอเป็นครั้งแรก และทำให้ทั้งคู่ใกล้ชิดกัน ทำให้พวกเขาได้เข้าอกเข้าใจกันอย่างแท้จริง”

 

“อาชีพนักบำบัดเป็นอาชีพที่ทำงานหนักและไม่ค่อยมีคนมองเห็นคุณค่า” ผู้กำกับเบน เลวินอธิบาย “คุณต้องหาชัยชนะผ่านตัวเวนดี้ และมันทำให้สก็อตตี้เองได้พบกับชัยชนะเช่นกัน โทนี คอลเล็ตต์นำความน่าเห็นใจ ความเข้าอกเข้าใจและความน่าเคารพมาสู่ตัวสก็อตตี้ เธอนำความเป็นแม่ที่แข็งแกร่งและความเป็นมนุษย์มาสู่บทของตัวเองมากกว่าการแสดงให้เห็นว่า ‘ฉันคือผู้รู้ เธอต้องฟังฉัน’ ครับ”

 

“ริเวอร์ อเล็กซานเดอร์” เป็นผู้รับบท “แซม” ลูกชายของสก็อตตี้ เป็นเด็กวัยรุ่นที่กำลังดิ้นรนค้นหาหนทางสู่การเป็นผู้ใหญ่ ตัวละครแซมถูกสร้างขึ้นด้วยความโกรธ ความเจ็บปวด ความเปล่าเปลี่ยวและความฉลาด “ตอนผมเห็นริเวอร์มาออดิชั่น ผมรู้เลยว่าเราได้ตัวแซมแล้ว” ผู้กำกับเล่า “การออดิชั่นของเขาออกมาโดดเด่นมาก เขาไม่ได้พยายามลอกเลียนแบบใครหรืออะไร แต่เขานำมุมมองของตัวเองมาปรับเป็นตัวละคร เป็นตัวตนของคนอื่น เขาไม่ได้เฟกแกล้งทำ นี่คือจุดที่น่าชื่นชมของเขา และมันรู้สึกเหมือนจริงมากครับ”

         

“ตอนที่ผมคุยกับเบน เลวิน เกี่ยวกับแซมเป็นครั้งแรก เขาพูดบางอย่างที่ทำให้ผมอยากเล่นเป็นแซมในทันทีครับ” ริเวอร์เล่า “แซมขบถเพราะเขาไม่รู้สึกว่าเขาได้รับความสนใจเพียงพอจากแม่ของเขา แบบเดียวกับที่แม่ทำเพื่อเวนดี้ เขาเริ่มเล่นยาและแยกตัวออกไป แต่ทั้งหมดนั้นไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นตัวละครตื้นๆ เบนบอกว่าแซมเป็นคนที่นำพาทุกคนให้เข้าหากันรวมทั้งตัวเขาเองและแม่ด้วย การที่เขาบอกให้ผมลงลึกเกี่ยวกับตัวละครมากขึ้น และอย่าทำให้เขาออกมาเห็นแก่ตัวช่วยผมได้เยอะเลยครับ แซมสามารถแปลภาษาคลิงออนของเวนดี้ และมันกลายเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่แม่ของเขามองไม่เห็น เขานำมาซึ่งสะพานเชื่อมระหว่างสก็อตตี้กับแซม และสก็อตตี้กับเวนดี้ครับ”

 

“มีหลายช่วงเวลาระหว่างถ่ายทำที่เรานั่งดูการแสดงของทุกคนอย่างผ่อนคลายครับ” ดูเบคกี้และอลาเมดไดน์เล่า “ฉากที่จะอยู่ในใจเราตลอดไปคือตอนที่เวนดี้ได้ไปถึงเป้าหมายที่ตนเองต้องการ และขอโอกาสแบบเดียวกับทุกคน ตอนที่ดาโกตาพูดบททำเอาเงียบกันทั้งกองถ่าย คุณจะรู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปด้วยอย่างมาก ผมจำได้ว่ามองเบนแล้วเห็นเขาถอนหายใจลึกๆ พอถ่ายทำเทกนั้นจบ เขาก็เดินเข้าไปหาเธอแล้วกอดเธอเต็มอ้อมแขน เพราะว่านั่นคือช่วงเวลาที่พิเศษมากจริงๆ การเดินทางของเวนดี้จบลงอย่างสมบูรณ์ ในช่วงเวลานั้นคุณสามารถบอกได้เลยว่า ทุกคนในกองถ่ายได้รู้ทันทีว่านั่นคือสิ่งที่พิเศษจริงๆ”

 

“ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับที่ได้ดูนักแสดงชั้นยอดถ่ายทอดบทของผมให้ออกมามีชีวิต” ไมเคิล โกแลมโคเสริม “พวกเขาทุกคนนำความสมจริงมาสู่ตัวละคร ถ่ายทอดให้เราเข้าถึงได้ง่าย ทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขาคือลูก พี่สาว แม่และเพื่อนของทุกคนจริงๆ”

 

“ผมยังจำตอนเดินออกจากโรงแล้วเห็นคนดูยังอยู่ต่อเพื่อคุยกันเกี่ยวกับหนังหลังฉายจบ” เลวินเล่า “ผมคิดว่า ว้าว นั่นไม่ใช่อะไรที่เห็นได้บ่อยๆ นะ เพราะปกติแล้วคนดูจะออกจากโรงแล้วกลับบ้านทันที ซึ่งนี่คือสิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นมากๆ ผมอยากให้คนคุยกับเกี่ยวกับหนังเมื่อหนังจบลง ไม่ว่าจะในวันถัดมาหรืออาทิตย์ถัดมาก็ตาม ผมไม่อยากให้มันเป็นหนังที่เมื่อจบลง มันจะหายไปจากหัวคุณจนหมด หรือเป็นหนังที่คุณอยากลืม ผมอยากให้ Please Stand By เป็นหนังที่อยู่ในความทรงจำของทุกคนครับ”

 

PleaseStandBy-Info03

 

“เมื่อคุณเจอคนเป็นออทิสติก คุณก็แค่เจอคนเป็นออทิสติกเท่านั้น…”

 

ทีมนักแสดง

“ดาโกตา แฟนนิง” รับบท “เวนดี้”

“ดาโกตา แฟนนิง” เพิ่งเสร็จสิ้นจากการถ่ายทำ Ocean’s 8 ของผู้กำกับ “แกรี รอสส์” และ 2 ผู้อำนวยการสร้าง “จอร์จ คลูนีย์” และ “สตีเวน โซเดอร์เบิร์ก” เมื่อไม่นานนี้ และเธอกำลังถ่ายทำหนังเรื่อง The Bell Jar ซึ่งกำกับและเขียนบทโดย “เคิร์สเตน ดันสต์” โดยเธอนำแสดงร่วมกับ “เจสซี เพลมอน” และ “แพทริเซีย อาร์เคว็ตต์” และเรื่อง Viena and the Fantomes ที่เธอรับบทเป็นทีมงานในวงดนตรีที่ตะลอนเดินทางตามวงพังก์ไปทั่วอเมริกาในยุค 80 ประกบกับ “อีแวน เรเชล วูด” นอกจากนั้นเธอยังหันไปเล่นซีรีส์จอแก้วเรื่องThe Alienist ให้กับสถานีโทรทัศน์ Turner Network Television ด้วย

สำหรับผลงานก่อนหน้านี้ของเธอประกอบด้วย American Pastoral, Brimstone, Night Moves, I Am Sam, Dr.Seuss’ Cat in the Hat, Man On Fire, War of the Worlds, Uptown Girls, Dreamer, Charlotte’s Web, The Secret Life of Bees, The Runaways, Caroline และหนังชุด The Twilight Saga

ดาโกตา แฟนนิงยังถือเป็นนักแสดงที่อายุน้อยที่สุด ที่เคยได้เข้าชิงรางวัลของสมาคมนักแสดง (Screen Actors Guild Award) ได้เข้าชิงรางวัล Critics’ Choice หลายครั้ง นอกเหนือจากงานแสดง เธอยังเป็นทูตทำงานโครงการ Save the Children ให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ยากจน รวมถึงครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ

 

“โทนี คอลเล็ตต์” รับบท “สก็อตตี้”

“โทนี่ คอลเล็ตต์” สร้างชื่อเสียงในแวดวงการแสดงครั้งแรกจากการรับบทนำในหนังเรื่อง Muriel’s Wedding ของผู้กำกับ “พี.เจ.โฮแกน” ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ ในเวลาต่อมา เธอสามารถคว้าลูกโลกทองคำและรางวัลเอมมีมาครองได้จากการรับบทเป็นผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคหลายบุคลิกในซีรีส์ United States of Tara ความยาว 3 ซีซั่น เธอยังได้เข้าชิงออสการ์จากหนังเรื่อง The Sixth Sense ของผู้กำกับ “เอ็ม ไนต์ ชยามาลาน” โดยหลังจากนั้น เธอยังได้เล่นหนังน้ำดีอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น Little Miss Sunshine หนังทีได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลลุกโลกทองคำ บาฟต้า สมาคมนักวิจารณ์ (รางวัลทีมนักแสดงยอดเยี่ยม) และสมาคมนักแสดง (รางวัลทีมนักแสดงยอดเยี่ยม)

ปัจจุบันโทนี คอลเล็ตต์กำลังถ่ายทำหนังเรื่อง Andorra ร่วมกับ “จิลเลียน แอนเดอร์สัน” และ “กาย เพียร์ซ” จากนั้นจะได้ร่วมงานกับผู้กำกับ “ไมเคิล แอปเต็ด” ใน Unlocked ประกบกับ “ออร์แลนโด บลูม” และ “จอห์น มัลโควิช” ตามด้วย Madame ที่แสดงร่วมกับ “ฮาร์วีย์ ไคเทล” และเรื่อง Birthmarked ร่วมกับ “แมทธิว กูด” สำหรับผลงานก่อนหน้านี้ของเธอคือหนังทริลเลอร์ Imperium ที่นำแสดงโดย “แดเนียล แรดคลิฟฟ์” The Yellow Birds ที่ “เจนนิเฟอร์ อนิสตัน” รับบทนำ และหนังตลกเรื่อง Fun Mom Dinner

นอกจากเล่นหนังเล่นซีรีส์แล้ว โทนี่ คอลเล็ตต์ยังเล่นละครเวทีด้วย เธอเคยเข้าชิงรางวัลโทนี่ และ Drama Desk Award ก่อนจะคว้ารางวัล Theatre World Award มาครองจากการรับบทนำในละครบรอดเวย์เรื่อง The Night Party เธอกลับมาเล่นละครบรอดเวย์เรื่องต่อมา The Realistic Joneses แล้วได้รางวัล Drama Desk Award ในสาขาทีมนักแสดงยอดเยี่ยม

 

“อลิซ อีฟ” รับบท “ออเดรย์”

นักแสดงสาวชาวอังกฤษ “อลิซ อีฟ” มีผลงานชิ้นล่าสุดเมื่อไม่นานนี้คือ Criminal ในบทเจ้าหน้าที่ซีไอเอ ประกบกับพระเอก “ไรอัน เรย์โนลด์ส”, “เควิน คอสต์เนอร์”, “แกรี โอลด์แมน” และ “ทอมมี ลี โจนส์” ตามด้วย Misconduct ของค่าย Lionsgate ที่เธอนำแสดงร่วมกับ “จอช ดูฮาเมล”, “อัล ปาชิโน” และ “แอนโทนี ฮ็อปกินส์”

สำหรับภาพยนตร์เรื่องใหม่ของเธอที่เตรียมออกฉายคือ The Stolen ประกบกับ “เจมี ดอร์แนน” และ “ลอลา เคิร์ก”, The Brits Are Coming ร่วมกับ “โซเฟีย เวอร์การา” และ “อูมา เธอร์แมน” ตามด้วยหนังไซไฟ Replicas ประกบ “คีอานู รีฟส์” เรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะฟื้นคืนชะครอบครัวของเขาที่ตายจากไปจากอุบัติเหตุทางท้องถนน และปิดท้ายด้วย Bees Make Money

ด้านผลงานเก่าๆ ของอลิซ อีฟประกอบด้วย Before We Go, Star Trek: Into Darkness, Some Velvet Morning และ Cold Comes the Night รวมถึง Men in Black 3, The Raven, ATM, Decoy Bride, She’s Out of My League, Crossing Over, Sex and the City 2 และซีรีส์ Entourage

 

PleaseStandBy-Info04

 

ทีมงาน

“เบน เลวิน” (ผู้กำกับ)

ผู้กำกับและมือเขียนบท “เบน เลวิน” มีผลงานการทำหนังใหญ่ หนังทีวี มินิซีรีส์ และผลงานอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งได้รับรางวัลมาครองจำนวนมาก ผลงานเรื่องเด่นของเขาคือ The Sessions ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงของ “มาร์ก โอ’ไบรอัน” นักข่าวผู้ป่วยเป็นโรคโปลิโอ ทำให้ต้องใช้ปอดเหล็กเพื่อช่วยหายใจ หนังนำแสดงโดย “จอห์น ฮอว์กส”, “วิลเลียม เอช.เมซีย์” และ “เฮเลน ฮันต์” หนังได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังมากมาย อาทิ รางวัลขวัญในคนดูจากเทศกาลหนังซันแดนซ์ปี 2012 เทศกาลซานเซบาสเตียน และเทศกาลหนังมิลวัลเลย์ และยังได้รางวัลทีมนักแสดงยอดเยี่ยมจากเทศกาลซันแดนซืไปครองอีกรางวัลด้วย

เบน เลวินเกิดที่ประเทศโปแลนด์ แต่มาโตที่ประเทศออสเตรเลีย เขาสนใจด้านการถ่ายภาพและการเขียนมาตั้งแต่ยังหนุ่มๆ เขายังศึกษาต่อด้านกฎหมายด้วย ในเวลาต่อมาเขาลาออกจากการเป็นทนายศาลสูง หลังจากเขาได้รับทุนให้ศึกษาต่อด้านภาพยนตร์ที่ National Film School ในประเทศอังกฤษ เมื่อเรียนจบ เขาเข้ามาทำงานสถานีโทรทัศน์ BBC เป็นผู้กำกับรายการ เขาทำรายการและผลิตสารคดีไว้มากมาย แต่ผลงานสร้างชื่อของเขาคือ The Case of Cruelty to Prawns หนังตลกดราม่าซึ่งได้รางวัลหนังทีวียอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมลเบิร์นไปครอง

ผลงานหลังจากนั้นของเขาประกอบด้วยหนังฆาตกรรมลึกลับ Georgia รับบทนำโดย “จูดี้ เดวิส” แล้วได้เข้าชิง 8 รางวัลจากสถาบันภาพยนตร์ออสเตรเลีย ตามด้วย The Dunera Boys รับบทนำโดย “บ็อบ ฮอสกินส์” ซึ่งเข้าชิงรางวัลต่างๆ มากมายไม่แพ้กัน เรื่องราวของยิวชาวอังกฤษ 2,000 คน ที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับนาซี ต่อด้วย Matter of Convenience หนังทีวีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานของ “ฌอง-ปีแอร์ คาสเซล” และ Plead Guilty, Get A Bond ซึ่งว่าด้วยผู้หญิงชาวอะบอริจินซึ่งมีปัญหากับระบบกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย

ในสหรัฐอเมริกา ชื่อของเบน เลวินเป็นที่รู้จักจากหนังเรื่อง Paperback Romance หนังตลกที่เขาทำหน้าที่เขียนบทและกำกับเอง นำแสดงโดย “แอนโทนี ลาพลาเกีย”, “จีอา คาไรด์ส” ตามด้วย The Favour, The Watch and the Very Big Fish นำแสดงโดย “บ็อบ ฮอสกินส์”, “เจฟฟ์ โกลด์บลัม” และ “นาตาชา ริชาร์ดสัน” เลวินยังทำสารคดีที่มีความส่วนตัวหน่อยๆ เรื่อง Hollywood Gold ว่าด้วยอุบัติเหตุของเขาในเหตุการณ์ซื้อขายแลกเปลี่ยนเพชร เบเวอร์ฮิลล์ ไม่เพียงแค่นั้นเขารับหน้าที่กำกับซีรีส์เรื่อง Ally McNealy ตอน Let’s Dance ซึ่งได้เรตติ้งสูงที่สุดของเรื่อง และซีรีส์เรื่อง Touched by an Angel รวมถึง Sea Change ซีรีส์ยอดนิยมของประเทศออสเตรเลีย

 

“แดเนียล ดูเบคกี้” (ผู้อำนวยการสร้าง)

“แดเนียล ดูเบคกี้” เจ้าของและผู้ก่อตั้งโปรดักชันเฮาส์ The Allegiance Theater ร่วมกับ “ลารา อลาเมดไดน์” เขาคือผู้อำนวยการสร้างหนังเรื่อง Up in the Air ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเมื่อปี 2010 นำแสดงโดย “จอร์จ คลูนีย์” โดยนอกจากออสการ์แล้ว หนังยังได้เข้าชิงรางวัลจากสถาบันต่างๆ อีกมากมาย ทั้งรางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลบาฟต้า และยังได้รางวัลหนังยอดเยี่ยมจากสถาบัน National Board of Review ด้วย นอกจากเรื่องนี้แล้ว เขายังอำนวยการสร้าง Money Monster ผลงานการกำกับของ “โจดี้ ฟอสเตอร์” ที่นำแสดงโดย “จอร์จ คลูนีย์” และ “จูเลีย โรเบิร์ตส์” โดยหนังทำเงินทั่วโลกได้มากถึง 93 ล้านดอลลาร์ ดูเบคกี้ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารให้กับหนังเรื่อง Cries from Syria หนังสารดคีที่กำกับโดยผู้กำกับ “เอฟจีนี อาฟินนีฟสกี” เล่าเรื่องการต่อสู้ของชาวซีเรียที่ไม่เคยสูญสิ้นความหวัง หนังได้เข้าฉายในเทศกาลหนังซันแดนซ์ เมื่อปี 2017 และได้รับเสียงปรบมืออย่างกึกก้อง ก่อนที่หนังจะนำมาฉายทางช่อง HBO ในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน

สำหรับเส้นทางอาชีพของดูเบคกี้นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ตอนเขาอายุ 18 ปี เขาเป็นผู้อำนวยการสร้างหนังสั้นส่งชิงรางวัลต่างๆ มากกว่า 20 เรื่อง ก่อนจะเริ่มเข้าสู่งานสร้างหนังขนาดยาวเป็นครั้งแรกจากหนังเรื่อง Thank You for Smoking ของผู้กำกับ “เจสัน ไรต์แมน” เมื่อปี 2006 ตามด้วย Juno ของค่าย Fox Searchlight ซึ่งทำเงินสูงถึง 230 ล้านดอลลาร์ทั่วโลกเมื่อปี 2007 แล้วยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ในหลายสาขา นำโดยสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ผลงานการเขียนของ “เดียโบล โคดี้” ในเวลาต่อมา ดูเบคกี้จะได้ร่วมงานกับโคดี้อีกครั้งใน Jennifer’s Body (2009) ซึ่งนำแสดงโดย “เมแกน ฟ็อกซ์” เขายังอำนวยการสร้าง Chloe หนังของผู้กำกับ “อะตอม อิโกยาน” ในปี 2010 และ Ceremony ซึ่งได้ “อูมา เธอร์แมน” มารับบทนำในปี 2011 นับจนถึงทุกวันนี้ ผลงานที่เขาและ The Allegiance Theater สร้าง สามารถทำเงินได้สูงกว่า 600 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก และนอกจากจะมี Please Stand By” ที่เตรียมออกฉายแล้ว ผลงานในอนาคตยังประกอบด้วย Veronica’s Room ผลงานการเขียนบทของ “มาร์ก บอมบ์แบ็ก” A Head Full of Ghosts ผลงานที่เขาร่วมอำนวยงานสร้างกับ “โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์” และ Another Day in the Death of America ซึ่งจะได้ “เดวิด โอเยโลโว” มารับบทนำ เป็นต้น

 

“ไมเคิล โกแลมโค” (นักเขียนบท)

“ไมเคิล โกแลมโค” เป็นนักเขียนบทหนัง ซีรีส์ และบทละครเวที ปัจจุบันเขาเขียนบทซีรี่ส์เรื่อง Grimm ซึ่งออกอากาศทางช่อง NBC

สำหรับละครเวทีที่สร้างจากบทของเขานั้นได้ไปแสดงที่โรงละคร Second Stage Theatre ในนิวยอร์ก โรงละคร Victory Gardens ในชิคาโก The Geffen Playhouse, Actors Theatre ที่เมืองหลุยส์วิลล์ และอื่นๆ อีกมากมายทั่วประเทศและรวมถึงทั่วโลกด้วย เขาเคยได้รับรางวัลรางวัลด้านการเขียนบทจาก Second Stage, South Coast Rep และ Geffen Playhouse และเขายังเป็นสมาชิกของ New Dramatists (ชั้นปี 2016) ด้วย

 

PleaseStandBy-Info05

The Queen Mary เรือผีปีศาจ

The Queen Mary เรือผีปีศาจ

ยินดีต้อนรับสู่เรือผีสุดเฮี้ยนอันเลื่องชื่อกับความสยองบทใหม่ที่ยังไม่เคยถูกเล่า! “The Queen Mary เรือผีปีศาจ” ภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากตำนาน “เรือที่มีผีสิงมากที่สุดในโลก” จากการจัดอันดับของนิตยสาร Time Magazine อย่าง...

รายละเอียดภาพยนตร์

Featured News