โหมโรง (The Overture)

วันเข้าฉาย: 06/02/2004 ดราม่า, ประวัติศาสตร์ 01 ชั่วโมง 40 นาที

เรื่องย่อ

ณ ประเทศสยาม พุทธศักราช 2429 “ศร” (อนุชิต สพันธุ์พงษ์) เด็กหนุ่มที่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เกิด หลังจากที่พี่ชายตนเองต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของคู่ปรับผู้พ่ายแพ้ในการดวลระนาด ศรจึงได้รับช่วงต่อจากพี่ชายโดยมีพ่อซึ่งเป็นครูสอนดนตรีไทยเป็นผู้ฝึกปรือฝีมือจนมีชื่อเสียงร่ำลือในทางระนาด ด้วยความลำพองในฝีมือของตน ศรจึงขอให้พ่อพาเขาไปบางกอก ที่นั่นเองที่ศรได้เรียนรู้ถึงความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกจากฝีมือของนักระนาดเอก “ขุนอิน” (ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า)

 

ศรกลับบ้านด้วยความภาคภูมิใจที่ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น แต่ความสับสน ท้อแท้ สิ้นหวังกลับกลายเป็นความมุมานะที่จะฝึกฝนฝีมือจนสามารถคิดค้นเทคนิคการตีระนาดที่ไม่เหมือนใคร ชื่อเสียงของศรร่ำลือไปจนถึงพระบรมมหาราชวัง ศรได้รับการอุปถัมภ์ให้เป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก จนได้พบกับ “แม่โชติ” (อาระตี ตันมหาพราน) สตรีผู้สูงศักดิ์ในวังและได้กลายเป็นคู่ชีวิตในเวลาต่อมา และไม่นานศรก็ได้เข้าร่วมแข่งขันดนตรีกับขุนอินอีกครั้ง ฝีมือที่ฝึกปรือมาอย่างไม่ท้อถอยทำให้ศรสามารถเอาสติชนะขุนอินคู่ปรับเก่าได้

 

การเดินทางได้ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนของบ้านเมือง ประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งการปกครองและวัฒนธรรม ศรได้เดินทางผ่านยุคทองแห่งดนตรีไทย จากวัยหนุ่มสู่วัยชราจนกลายมาเป็นครูดนตรีคนสำคัญ แต่ยุคนี้ดนตรีไทยเริ่มถูกปิดกั้นจากทางรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศเป็นศิวิไลซ์ เป็นอารยะตามแบบตะวันตก สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สร้างความปวดร้าวให้กับคนดนตรีไทยทุกคนรวมทั้งศร แต่เขาก็ยังหาญกล้าใช้เสียงเพลงต่อสู้เพื่อให้ดนตรีไทยที่เขารักดั่งชีวิตนั้นอยู่รอดจากการถูกทำลาย…

 

 


นักแสดง

อนุชิต สพันธุ์พงษ์
อดุลย์ ดุลยรัตน์
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า
ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง
อาระตี ตันมหาพราน
สมภพ เบญจาธิกูล
สุเมธ องอาจ
สมชาย ศักดิกุล
เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์
ชุมพร เทพพิทักษ์
สุธีรัชย์ ชาญนุกูล (บุ๋มบิ๋ม สามโทน)

ผู้กำกับ

อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์

รางวัล

รางวัล “สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14” (ประจำปี 2547) – ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โหมโรง), บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ), ผู้กำกับยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์), กำกับภาพยอดเยี่ยม (ณัฐวุฒิ กิตติคุณ), ลำดับภาพยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์), บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (คอนราด แบรดลี่ย์ สเลเตอร์, ห้องบันทึกเสียงกันตนา, อพอลโล่ แลป (2001)) / รางวัล “ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13” (ประจำปี 2547) — ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โหมโรง), ผู้กำกับยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง), ลำดับภาพยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์), ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชาติชาย พงษ์ประภาพันธุ์, ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่, ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า) / รางวัล “ตุ๊กตาทอง (พระสุรัสวดี) ครั้งที่ 27” (ประจำปี 2547) – ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โหมโรง), บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ), ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์), กำกับภาพยอดเยี่ยม (ณัฐวุฒิ กิตติคุณ), ลำดับภาพยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์), แต่งหน้าทำผมยอดเยี่ยม (มนตรี วัดละเอียด), บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (คอนราด แบรดลี่ย์ สเลเตอร์, ห้องบันทึกเสียงกันตนา, อพอลโล่ แลป (2001)), ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์, ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่, ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า), เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง “อัศจรรย์” เนื้อร้อง: พิจิกา, ทำนอง-เรียบเรียง: เพชร มาร์, ระนาดเอก: ขุนอิน, ขับร้อง: เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์) / รางวัล “คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 2” (ประจำปี 2547) – ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โหมโรง), บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ) / รางวัล “STARPICS Thai Film Award ครั้งที่ 2” (ประจำปี 2547) – บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง), ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์, ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่, ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า)


โปสเตอร์ภาพยนตร์


ตัวอย่างภาพยนตร์ / คลิป


รูปภาพ